ผู้การตำรวจนครปฐม ตั้งวงแถลงกรณีผู้ต้องหาฉ้อโกง ปชช. 60 ล้าน ร้องกองปราบ ออกหมายจับ โดยไม่เรียกคุย

ผู้การตำรวจนครปฐม ตั้งวงแถลงกรณีผู้ต้องหาฉ้อโกง ปชช. 60 ล้าน

พันตำรวจเอก พงษ์ศักดิ์ ชูนาค รองผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม โฆษกตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม เผยว่า เมื่อเวลา 13.32 น.วันที่ 10 มกราคม 2561 ที่ห้อง ประชุม ชั้น 3 สถานีตำรวจภูธรเมืองนครปฐม พลตำรวจตรี คำรณ บุญเลิศ ผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดนครปฐม พันตำรวจเอก ไพฑูรย์ พิทักษ์ธรรม ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองนครปฐม พันตำรวจเอก วิธิวัฒน์ ศรีทองจ้อย ผู้กำกับ(สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม พันตำรวจเอก ธนวิทย์ กาญจนนฤนาท ผู้กำกับ (สอบสวน)กลุ่มงานสอบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม ที่ปรึกษา พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธร เมืองนครปฐม พันตำรวจเอก นฤพล วานิชนุเคราะห์ ผู้กำกับ (สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม ที่ปรึกษา พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธร เมืองนครปฐม พันตำรวจโท นพดล พหรมพินิจ รองผู้กำกับ(สอบสวน) หัวหน้างานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองนครปฐม ร้อยตำรวจเอก กำพล จำปาศรี รองสารวัตร(สอบสวน) สถานีตำรวจภูธรเมืองนครปฐม ร่วมแถลงข่าว กรณี มีทนายความ ้พา ผู้ต้องหา ข้อหา”ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน” มูลค่าหลายสิบล้านบาท เข้าร้องต่อกองปราบปราม อ้างไม่ได้รับความเป็นธรรม ที่พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองนครปฐม ร้องขอศาลออกหมายจับและจับกุม โดยไม่ได้เรียก ไปซักถาม ก่อน ตามที่ควรปฏิบัติ ตามกระบวนการยุติธรรม ชั้นสอบสวน

โดยจากกรณีเมื่อวันที่ 8 ม.ค.61 ได้มีทนายความคนหนึ่ง พาเยาวชนเป็นนักเรียน 3 คน ซึ่งเป็นลูกของผู้ต้องหา ที่ถูก ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองนครปฐมจับกุมแจ้งข้อกล่าวหา เดินทางเข้าร้อง กับ พล.ต.ต.สุทิน ทรัพย์พ่วง ผู้บังคับการกองปราบปราม กรณีนายจักรพงศ์ บุญสิน พ่อของเยาวชนทั้ง 3 ถูกตำรวจภูธร สถานีตำรวจภูธรเมืองนครปฐม จับกุมควบคุมตัวเมื่อ 29 ธ.ค.60 ที่ผ่านมา ข้อหาฉ้อโกงประชาชน ทั้งนี้สืบเนื่องเมื่อเดือน ก.ย. 60 ภรรยาของนายจักรพงศ์ ได้ให้หญิงคนหนึ่ง กู้ยืมเงินไปและได้ชำระเงินที่กู้ยืมไปคืนหมดแล้ว

ต่อมาหญิงคนดังกล่าวได้ชักชวนให้ภรรยานายจักรพงษ์ นำเงินไปลงทุนทำธุรกิจเพื่อนับผลตอบแทน แต่ต่อมาหญิงคนดังกล่าวพร้อมผู้เสียหายรวม 18 คนได้เข้าร้องทุกข์กล่าวหา ว่าภรรยานายจักพงศ์ เป็นหนี้พร้อมให้ภรรยานายจักพงศ์ ใช้หนี้จำนวน 12 ล้านบาท พร้อมทั้งยังข่มขู่เอาชีวิต เมื่อนายจักรพงศ์ทราบ จึงยอมโอนเงินให้เพื่อตัดปัญหา เพราะไม่อยากเสียชื่อเสียง แต่เรื่องไม่จบ เพราะหญิงคนดังกล่าว ยังข่มขู่เอาเงินเงินอีก เมื่อไม่ได้ หญิงคนดังกล่าวเข้าแจ้งความดำเนินคดี แต่จากการตรวจสอบบัญชีธนาคารย้อนหลังพบว่าเงินที่ภรรยานายจักรพงศ์โอนให้ผู้หญิงคนดังกล่าว มากกว่าเงินที่หญิงคนนั้นโอนมาให้(ตามข้อมูลที่ทนายความพาเข้าร้องกองปราบปรากฎตามสื่อ) และนายจักรพงศ์กับภรรยา ก็ไม่รู้จักผู้เสียหาย ทั้ง 17 คนตามที่ตำรวจกล่าวหาตามหที่ญิงคนดังกล่าวพามาแจ้งความอีกด้วย

ขณะที่ฝ่ายผู้ถูกกล่าววหา มีเอกสารหลักฐานการโอนเงินมาให้ตำรวจกองปราบปรามตรวจสอบ พร้อมสู้คดี แต่นายจักพงศ์ถูกคุมตัวที่ศาลจังหวัดนครปฐม โดยทางทนายความ ได้ประสานยื่นขอประกันตัวนายจักรพงศ์ พร้อมยื่นเรื่องให้ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม เปลี่ยนตัวพนักงานสอบสวน หลังพบว่า การควบคุมตัวผู้ต้องหา พนักง่นสอบสวนเจ้าของคดี ไม่เคยลงไปค้นหาหลักฐานจากผู้ถูกกล่าวหา และไม่มีหมายเรียกก่อนขอออกหมายจับ และจับกุมดำเนินคดี



จากกรณีดังกล่าว ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐมแถลงว่า คดีดังกล่าวเป็นคดีอาญาที่ 244 7/2560 ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2560 ข้อหา”ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน” อัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่ 5 แสนบาทถึงหนึ่งล้านบาทและปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน โดยคดีดังกล่าวมีนางสาว ดาธชา อิทธิพลรัตนกร เป็นผู้กล่าวหา มีนาง กัญธรสฐ์ หรือต้อง บุญสิน เป็นผู้ต้องหาที่ 1 อยู่บ้านเลขที่ 59/8 หมู่ 5 ตำบลหวายเหนียวอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี (อยู่ระหว่างหลบหนี) กับนายจักรพงษ์ บุญสิน เป็นผู้ต้องหาที่ 2 อยู่บ้านเลขที่ หมู่ตำบล อำเภอ และ จังหวัดเดียวกัน กับผู้ต้องหาที่ 1 ซึ่งถูกจับกุมแล้ว ซึ่งเหตุดังกล่าว เกิดขึ้นที่บ้านเลขที่ 8 60 9/81 ถนนเพชรเกษมตำบลสนามจันทร์อำเภอเมืองจังหวัดนครปฐมเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 ทรัพย์ที่ถูกประทุษร้ายรวมเป็นเงินทั้งสิ้น ยี่สิบห้าล้านหกแสนเก้าหมื่น 5,000 บาท

ผู้การตำรวจนครปฐม ตั้งวงแถลงกรณีผู้ต้องหาฉ้อโกง ปชช. 60 ล้าน

พฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหา ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดจังหวัดนครปฐม เปิดเผยพร้อมเอกสารประกอบ ให้ผู้สื่อข่าวดู ว่า นางสาวดาธช่ ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้กล่าวหา รู้จักกับนางกัญธรสฐ์ หรือต้อง ผู้ต้องหาที่ 1 และนายจักรพงษ์ สามี ผู้ต้องหาที่ 2 มาก่อน จากเพื่อนแนะนำให้รู้จัก ระหว่างที่รู้จักกันเรื่อยมา นางสาวดาธชา ผู้เสียหาย ในคดี ได้ไปที่บ้านของผู้ต้องหาทั้งสองที่หมู่ที่ 5 ตำบลหวายเหนียวอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี โดยนางกัญธรสฐ์ คันธรส ผู้ต้องหาที่ 1 ได้ พูดชักชวน ให้นางสาวดาธชา ผู้เสียหาย เข้าร่วมลงทุนกิจการโรงงานปุ๋ย โดยบอกว่าจะได้ผลกำไรตอบแทนทุกๆ 7 วัน ผู้เสียหายในคดี จึงหลงเชื่อนำเงินเข้าร่วมลงทุนครั้งแรกจำนวน 250,000 บาทโดยโอนเงินเข้าบัญชีของผู้ต้องหาที่ 1 จากนั้นอีก 7 วันต่อมา ผู้ต้องหาที่ 1 ได้โอนเงินที่เป็นผลกำไรคืนกลับเข้าบัญชีของ ผู้เสียหาย เป็นเงินจำนวน 60,000 บาท และผู้ต้องหาที่ 1 ชักชวนเพื่อนๆ นำเงินเข้าร่วมลงทุนกัน อีกจำนวน 16 คน ซึ่งระหว่างนั้น ก็ได้ผลกำไรจริง ต่อมาภายหลัง ผู้ต้องหาที่หนึ่งไม่สามารถแบ่งปันกำไรหรือปันผลให้กับผู้เสียหายทั้งหมดได้และไม่สามารถติดต่อกับ ผู้ต้องหาที่ 1 ได้ จึงได้ทำการตรวจสอบ ไปที่บริษัทดังกล่าว พบว่าไม่มีอยู่จริงในพื้นที่ ที่ผู้ต้องหาที่ 1 ให้ข้อมูลไว้แต่แรก จึงได้พากันรวบรวมหลักฐาน เข้าแจ้งความร้องทุกข์ กับตำรวจ สถานีตำรวจภูธรเมืองนครปฐม ดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการ ขออนุมัติศาล จังหวัดนครปฐม ออกหมายจับ และจับกุม สามีของ ผู้ต้องหาที่ 1 ได้ก่อน ดังที่กล่าวมาเบื้องต้น

สำหรับขั้นตอนการ ดำเนินการ ไปแล้วและอยู่ระหว่างดำเนินการ ในคดีดังกล่าวนี้ เท่านั้นสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองนครปฐมรับแจ้งเหตุเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 เวลาประมาณ 17.30 นาที หลังจากรับแจ้งในเบื้องต้นพนักงานสอบสวนได้สอบปากคำผู้กล่าวหาไว้ก่อน 1 ปากจากนั้นได้สอบปากคำพยานและผู้เสียหาย ต่อเนื่องอีกรวม 16 ปาก และได้ตรวจสอบการโอนเงินจากบัญชีของผู้กล่าวหา และของผู้ต้องหาพบว่ามีการโอนเงินกันจริง จึงนำไปสู่การรวบรวมพยานหลักฐานขออนุมัติศาลจังหวัดนครปฐมออกหมายจับ ดังกล่าวและมีการจับกุมตัวนายจักรพงษ์สามีซึ่งเป็นผู้ต้องหาที่ 2 เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2560 ในชั้นจับกุม นายจักรพงษ์ผู้เป็นสามีของผู้ต้องหาให้การ ปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา หลังจากกุม ก็ได้นำตัวผู้ต้องหาคือนายจักรพงษ์ฝากขังต่อศาลจังหวัดนครปฐมเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2560 ซึ่งระหว่างนี้ พนักงายสอบสวนได้รอผลการตรวจ การพิมพ์ลายนิ้วมือและประวัติของผู้ต้องหา คือนายจักรพงษ์ ขณะเดียวกันก็เตรียมสรุปสำนวนส่งพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาต่อไป รวมทั้งการติดตามจับกุม นางกัญธรสฐ์ ผู้ต้องหาที่ 1 มาดำเนินคดี ต่อไปด้วย

ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐมเผยว่า กรณีดังกล่าวในฐานะที่ตนเองเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม เรื่องดังกล่าวจตนได้ตรวจสอบข้อมูล รวมทั้งสำนวนการสอบสวนที่พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการ พบว่า เป็นไปตาม กระบวนการและขั้นตอน ทุกประการ ส่วนเรื่องที่ ทนายความได้พา ลูกๆของผู้ต้องหาเข้าร้องต่อกองปราบปรามนั้น ก็เป็นสิทธิ์ที่ทางญาติ หรือทนายความสามารถทำได้ ในส่วนของการตรวจสอบการทำงานของพนักงานสอบสวน ต้นก็เห็นว่าถูกต้อง ตามขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมขั้นต้น ในชั้นสอบสวนทุกประการ อย่างที่ได้ กล่าวในตอนต้นว่า คดีดังกล่าว เป็นข้อหา”ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน”อัตราโทษสูง จำคุกตั้งแต่ 5 ปีถึง 10 ปี ดังนั้นลักษณะโทษดังกล่าว นักงานสอบสวน ได้รวบรวมพยานหลักฐานแล้ว สามารถขอศาล อนุมัติหมายจับได้โดยไม่ต้อง เรียกผู้ถูกกล่าวหา มาพูดคุยหรือออกหมายเรียกก่อนแต่อย่างใด…