ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม ติวเข้ม ผู้ประกอบการ รับฝากขนส่งสินค้าพัสดุภัณฑ์ อย่าตกเป็นเครื่องมือโจร เรื่องแนวทางการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และการ สนับสนุนคนร้าย ขนส่งสิ่งของได้จากการโจรกรรมมาโดยมิมีเจตนา(ลักลอบขนส่ง ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ ที่ได้จากการโจรกรรม)

เมื่อวันอังคารที่ 17 กรกฎาคม 2561 พลตำรวจตรีคำรณบุญเลิศ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม ได้มอบหมายให้ พันตำรวจเอก ปิติ นฤขัตรพิชัย รอง ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม (รับผิดชอบงานด้านสืบสวน ปราบปราม การค้ายาเสพติด และงานด้านป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์รถจักรยานยนต์) ไปจัดการประชุม เชิงปฏิบัติการ เรื่องแนวทางการดำเนินการตามมาตรการ ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ในสถานประกอบกิจการขนส่งสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ โดยมี พันตำรวจเอก ไพบูลย์ แพรสีนวล ผู้กำกับสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม พันตำรวจเอก ชัยรินทร์ แก้วสุวรรณ ผู้กำกับการ สถานีตำรวจภูธรโพธิ์แก้ว อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พันตำรวจโท สุรชัย ยติรัตนกัญญา รองผู้กำกับสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม และข้าราชการตำรวจ งานป้องกันปราบปราม งานสืบสวน ตำรวจภูธรโพธิ์แก้ว และ กองกำกับการสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม โดยได้รับเกียรติจาก นายธนากร คัยนันท์ ผู้อำนวยการ สำนักงานป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด ภาค 7 มอบหมายให้ นายรัฐนันท์ ธนะสูตร นักสืบสวนสอบสวนชำนาญการ สำนักงานป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด ภาค 7 เข้าร่วมบรรยายให้ความรู้ แก่ผู้ประกอบการ และตัวแทน โดยมี ตัวแทนผู้ประกอบการ และผู้ประกอบการ ขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ภาคเอกชน จากกว่า 50 ผู้ประกอบการ ส่งตัวแทนเข้าร่วมรับฟังจำนวน 34 ราย ณ หน้าบริษัท พีแอล ขนส่ง เลขที่ 46/28 หมู่ 8 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.กระทุ่มล้ม อ.สามพราน จ.นครปฐม (ภายในพื้นที่โกดังพุทธิพร ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ตรงข้ามวัดนครชื่นชุ่ม)

พันตำรวจเอก ปิติ นฤขัตรพิชัย รอง ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐมกล่าวว่า ที่มาของ การเชิญผู้ประกอบการและตัวแทนผู้ประกอบการ ขนส่งสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ ละแวกนี้ เข้าร่วมรับฟังก็เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินการป้องกัน และปราบปราม การกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และ การรับ พัสดุภัณฑ์ ซึ่งอาจเป็นสิ่งของผิดกฎหมายหรือสิ่งของที่ได้มาจากการโจรกรรม ส่งต่อไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เนื่องด้วย เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 61 ที่ผ่านมา ตนเองพร้อม เจ้าหน้าที่ตำรวจ ชุดสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐมได้เข้ามาทำการ ตรวจยึด ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ได้ 5 คันที่ถูกแยกชิ้นส่วนบรรจุบังกระดาษลูกฟูก ซิลเทปกาวอย่างมิดชิดสวมทับด้วย ถุงทอชนิดเส้นใยแบบถุงปุ๋ยใบใหญ่สีขาวสวมทับทุกกล่อง บรรทุกมาในรถยนต์กระบะ มีคอกท้ายปิดทึบ ยี่ห้ออีซูซุ สีเทา หมายเลขทะเบียน ถธ 8566 กรุงเทพมหานคร มีนายวัชรินทร์ หรือมืด คูณผล อายุ 41 ปี ที่อยู่ 50 หมู่ 18 ต.โดด อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีษะเกษ เป็นคนขับ บรรทุก กล่องพัสดุ ซึ่งภายในเป็นชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์จำนวน 5 คัน ซึ่งเป็นรถจักรยานยนต์ที่ถูกโจรกรรม มาในพื้นที่ต่างๆทั้งในเขตนครบาลและรอบรอบ ปริมณฑล แต่ผู้ที่นำมาฝากส่ง แจ้งกับบริษัทขนส่งว่า สินค้าดังกล่าวคืออุปกรณ์เครื่องจักรเย็บผ้า ผู้รับปลายทางชื่อ อาว เอา (ไม่ทราบว่าเป็นผู้ใด) ซึ่งจากการขยายผลจับกุมโดยการประสานงานกับชุดสืบสวนตำรวจภูธรปทุมธานีพบว่า ที่ผ่านมา มีรถจักรยานยนต์ที่ถูกโจรกรรมหายไปจัด เจ้าของ ไม่น้อยกว่า 300 ถึง 500 คัน และ มีการนำ ไปถอดแยกชิ้นส่วนแล้วบรรจุ กล่องนำมาส่ง ที่บริษัทรับส่ง สินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ แห่งนี้ ส่งไปยัง อำเภอแม่สอดจังหวัดตาก แล้วถูกส่งข้ามไปประเทศเพื่อนบ้าน

การเชิญผู้ประกอบการตัวแทน ผู้ประกอบการกิจการขนส่งสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ พูดคุยกันในวันนี้ก็เพื่อ ให้ผู้ประกอบการทุกแห่งปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย อย่างเคร่งครัด ตามประกาศสำนักรัฐมนตรีฉบับที่ 5 พ. ศ. 2558 เกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ รวมถึงผู้ประกอบการเอกชนที่ประกอบกิจการ ขนส่งสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ จากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งโดย มีผู้ฝากส่ง มีผู้รับปลายทาง ผู้ประกอบการรับฝาก ในฐานประกอบการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ จะต้อง บันทึกรายละเอียดชื่อนามสกุลเลขบัตรประจำตัวประชาชนเลขหนังสือเดินทาง ทั้งของผู้ส่งและของผู้รับปลายทางให้ละเอียด รวมทั้งแจ้งรูปพรรณสิ่งของ ในหีบห่อ ให้ชัดเจนว่า เป็นอะไร สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ทั้งต้นทางและปลายทาง ไม่น้อยกว่า 180 วัน เพื่อเป็นการป้องกัน ผู้ที่ลักลอบส่งสินค้าผิดกฎหมายสิ่งของผิดกฎหมาย ทั้งยาเสพติดและสิ่งของที่ได้มาจากการโจรกรรม 4 หากไม่ปฎิบัติ ผู้ประกอบการก็จะมีความผิดตามกฎหมาย มีทั้ง โทษจำคุกและโทษปรับ ตั้งแต่ 10,000 บาทถึง 50,000 บาท

จากการตรวจสอบข้อมูลการบันทึกข้อมูลของผู้กอบการ ที่ชุดสืบสวนตำรวจภูธร จังหวัดนครปฐม ได้ทำการจับกุมและตรวจยึดชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ที่ถูกโจรกรรมมาเพื่อส่งต่อไปยัง อำเภอ แม่สอดจังหวัดตาก เพื่อส่งต่อออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านก็พบว่า การบันทึกข้อมูลผู้ส่ง ข้อมูลผู้รับก็ไม่มีรายละเอียดชัดเจนเช่นเดียวกัน ทำให้ไม่สามารถขยายผลติดตามไปจับกุมหรือตรวจยึดรถจักรยานยนต์ที่ถูกโจรกรรม ไปจากพื้นที่นครบาลและปริมณฑลกลับคืนให้กับเจ้าของได้ ทางตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐมจึงได้ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ขึ้น ซึ่งหลังจากนี้ เจ้าหนี้ตำรวจ ทั้งจากส่วนกลาง วนพื้นที่ และส่วนของสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค7 จะออกสุ่มตรวจสถานประกอบการ ขนส่งสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ ของภาคเอกชนทุกแห่ง เพื่อตรวจสอบว่า ได้ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่ ซึ่งหากพบ ว่าปฏิบัติไม่ถูกต้องก็จะ เสนอให้ส่วนเกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาดต่อไป

ทั้งนี้ ก็เพื่อเป็นการป้องกันและปราบปราม การกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิด ในลักษณะให้การช่วยเหลือ คนร้าย ส่งสิ่งของที่ได้มาจากการกระทำความผิด หรือได้มาจากการโจรกรรมต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากตัวแทนผู้ประกอบการขนส่งสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ที่เข้าร่วมรับฟังแนวทางในครั้งนี้พบว่า ส่วนใหญ่ จะเป็นลูกจ้างที่ทำหน้าที่ รับสินค้าที่มีผู้มาฝากส่ง บางรายเป็นลูกจ้าง ซึ่งตัวเจ้าของผู้ประกอบการเอง ไม่มี ผู้การท่านใดมารับฟังด้วยตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับ ทางตัวแทน สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 7 ซึ่งเคย จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการให้แก่ผู้ประกอบการ ขนส่งสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ ทั้งภาคเอกชน และภาครัฐ ไปเมื่อช่วงต้นปี จะพบว่า ในการจัดสัมมนาเพื่อให้ความรู้ทั้งในแง่ของกฎหมายและหลักของการปฏิบัติ ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาพเหตุการณ์นั้น ก็เป็นเช่นเดียวกัน ไม่มีผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของตัวจริง เข้าร่วมรับฟัง ส่งเพียง ลูกจ้างหรือตัวแทนเข้ามารับฟัง เพียงไม่กี่คน…