ป.ป.ช. ภาค 7 แถลงผลงานในรอบปี 61 พร้อมเชื่อมั่นภาคประชาชนมีส่วนต้านทุจริต

ป.ป.ช. ภาค 7 แถลงผลงานผลการดำเนินงานของสำนักงาน ป.ป.ช. ภาค ๗ และสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด ในเขตพื้นที่ ภาค ๗ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
วันนี้(18 ก.ย.61)ที่โรงแรมริเวอร์แคว จ. กาญจนบุรี นายพิเชฐ พุ่มพันธ์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค ๗ ได้แถลงผลงานการปฏิบัติหน้าท่ี ของสำนักงาน ป.ป.ช. ภาค ๗ ว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ได้ประกาศให้มีผลบังคับใช้แล้ว เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2561 มีทั้งส้ิน 200 มาตรา โดยมีสาระสำคัญ อาทิ การกำหนดตำแหน่งเจ้าพนักงานของรัฐ การกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจไต่สวนและวินิจฉัย เจ้าพนักงานของรัฐในทุกระดับตำแหน่ง การห้ามมิให้เปิดเผยข้อมูลซึ่งมีลักษณะเป็นข้อมูลเฉพาะบุคคล การกำหนด กรอบระยะเวลาการไต่สวน การมอบอำนาจให้เลขาธิการหรือหัวหน้าพนักงานไต่สวนมีอำนาจในการตรวจสอบ เบื้องต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อเร่งรัดให้การดำเนินคดีเป็นไปด้วยความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ในด้านการตรวจสอบ ทรัพย์สิน มีประเด็นท่ีน่าสนใจคือ คู่สมรสของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งอยู่กินกันฉันสามีภริยา โดยมิได้จดทะเบียนสมรสด้วย นอกจากน้ียังมีการกำหนดให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐเข้ามามีส่วนร่วมให้ความ ร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต รวมถึงกำหนดให้มีมาตรการเฝ้าระวังในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการดำเนินการอันอาจนำไปสู่การทุจริต โดยให้ดำเนินการตรวจสอบโดยเร็ว เป็นต้น
ปัจจุบันสำนักงาน ป.ป.ช. ภาค ๗ ได้ย้ายที่ทาการสำนักงาน ป.ป.ช. ภาค ๗ ต้ังอยู่ ณ ศูนย์ราชการ จังหวัดนครปฐม ตำบลถนนขาด อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เพื่อความสะดวก และรวดเร็วในการ ประสานงานในพื้นที่ ร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดในสังกัดสำนักงาน ป.ป.ช. ภาค ๗ ทั้ง 8 จังหวัด (นครปฐม กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และสุพรรณบุรี) รวมท้ังการ ประสานงานในระดับพื้นท่ีกับหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งผลการการปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 สรุปได้ ดังนี้
ภารกิจด้านการป้องกันการทุจริต
โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานป้องกันการทุจริต โดยสานักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดในเขต พื้นท่ี ภาค ๗ มีจำนวนท้ังสิ้น 370 โครงการ/กิจกรรม แบ่งเป็น. โครงการที่ใช้งบประมาณของสำนักงาน ป.ป.ช. จานวน 34 โครงการ
/ โครงการ/กิจกรรมท่ีไม่ใช้งบประมาณของสำนักงานป.ป.ช.จำนวน 336โครงการ/กิจกรรม
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม รวมทั้งสิ้น 37, 746 คน แบ่งเป็น
 กลุ่มเป้าหมายท่ีเข้าร่วมโครงการที่ใช้งบประมาณของสพนักงาน ป.ป.ช. จำนวน 7,888 คน. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมท่ีไม่ใช้งบประมาณ จำนวน 29,858 คน
2.สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดในพื้นที่ ภาค ๗ ได้รับการจัดสรรงบประมาณสำหรับภารกิจด้านการ ป้องกันการทุจริต ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จำนวนรวมทั้งสิ้น 5,893,300.00 บาท โดยใช้จ่ายจริงเป็นเงิน จำนวน 4,972,851.15 บาท คิดเป็นร้อยละ 84.38
โครงการที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดในเขตพื้นที่ ภาค ๗ ได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ และแผนการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ได้ให้ ความสำคัญกับการดำเนินโครงการเพื่อสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต การแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและ ผลประโยชน์ส่วนรวม การพัฒนาศักยภาพและความรู้ให้กับเครือข่าย การสร้างความตระหนักรู้ในความสำคัญของ ปัญหาการทุจริต การมีส่วนร่วมของประชาชนในการต่อต้านการทุจริต การป้องกันการทุจริตเชิงรุก โดยเฉพาะการที่ ประชาชนในสังคมเห็นถึงผลกระทบอันร้ายแรงของการทุจริต และปฏิเสธการทุจริตในทุกรูปแบบ เช่น
 โครงการSTRONG–จิตพอเพียงต้านทุจริต
/ โครงการปลูกฝังวิธีคิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวมจิตพอเพียงความอาย
และไม่ทนต่อการทุจริต ประจำปี ๒๕๖๑
/โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายเพื่อต่อต้านการทุจริต
/ โครงการส่งเสริมสังคมต้นแบบ“สังคมสุจริตสังคมวิถีชีวิตพอเพียง”
/ โครงการอปท.ของประชาชน
/ โครงการสร้างสังคมเฝ้าระวังต่อต้านการทุจริต
/ โครงการส่งเสริมท้องถิ่นปลอดทุจริตเป็นต้น
ร่วมกันกับโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีภารกิจในระดับพื้นที่ โดยเป็นโครงการ/กิจกรรมที่ไม่ใช้งบประมาณของสำนักงาน ป.ป.ช. รวมทั้งสิ้นจำนวน 336 โครงการ/กิจกรรม ดังต่อนี้
 กระทรวงมหาดไทย160โครงการ/กิจกรรม
/ องค์กรสมาคมมูลนิธิด้านสื่อสารมวลชน59โครงการ/กิจกรรม
/ กระทรวงศึกษาธิการ39โครงการ/กิจกรรม
/ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์10โครงการ/กิจกรรม
 กระทรวงสาธารณสุข7โครงการ/กิจกรรม
/ รวมทั้งองค์กรอิสระ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และเครือข่ายภาคประชาชนนอกจากนี้ยังมีการดำเนินการป้องกันการทุจริตเชิงรุก ในรูปแบบของการป้องกันการทุจริตเชิงป้อง ปราม โดยการลงพื้นที่เพื่อสังเกตการณ์ในกรณีที่มีการแจ้งเหตุ แจ้งเบาะแสการทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ จากเครือข่ายเฝ้าระวังการทุจริตภาคประชาสังคม รวมถึงมาตรการในการป้องกันการทุจริต โดยการลงพื้นที่ตรวจติดตามการรับนักเรียนของสถานศึกษาที่มีอัตราการแข่งขันสูง เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการ เรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อโอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
3
ภารกิจด้านการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค ๗ และสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดในภาค ๗ ได้ ดำเนินการตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. งานตรวจสอบปกติ
การตรวจสอบความมีอยู่จริงของทรัพย์สินตามที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะนักการเมืองท้องถิ่น ได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินไว้ ในเขตพื้นที่จังหวัดของตนเอง โดยในปีงบประมาณ 2561 ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินรวมทั้งสิ้น 1,023 บัญชี ดังนี้
 ผ่าน ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป. ป. ช . ภ าค ๗ จำนว น 71 9 บัญชี
/ คณะอนุกรรมการตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินมีมติ
จำนวน 196 บัญชี
/คณะกรรมการ ป. ป. ช . มีมติ จำนวน 10 8 บัญชี
๒. งานตรวจยืนยันข้อมูล
การตรวจยืนยันข้อมูล เป็นการตรวจเนื่องจากทรัพย์สินของผู้ยื่นเพิ่มขึ้นไม่สัมพันธ์กับรายได้ที่ผู้ยื่น ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (แบบ ภงด. 90/91) หรือในกรณีที่ผู้ยื่นมีทรัพย์สินน้อยผิดปกติ ดำเนินการตรวจสอบโดยใช้วิธีการ เช่น มีหนังสือไปสอบถามข้อเท็จจริงหรือขอเอกสารหลักฐานจากสถาบันการเงิน ต่าง ๆ กรมการขนส่ง สำนักงานที่ดิน พาณิชย์จังหวัด กรมสรรพากร เป็นต้น เมื่อได้ข้อมูลแล้วจะทำการวิเคราะห์ ว่าผู้ยื่นมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ หรือจงใจปกปิดทรัพย์สินหรือไม่ โดยในปีงบประมาณ 2561 ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการตรวจสอบ รวมทั้งสิ้น 107 เรื่อง ดังนี้
/ผ่านผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค ๗ จำนวน 80 เรื่อง
/คณะอนุกรรมการตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน มีมติ จำนวน 19 เรื่อง
/ คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติ จำนวน 8 เรื่อง
3. งานตรวจสอบเชิงลึก
การตรวจสอบเชิงลึกเป็นการตรวจสอบเนื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติให้ตรวจสอบในกรณีที่ ผู้ยื่นจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน เนื่องจากเห็นว่าการที่ผู้ยื่นจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการ ทรัพย์สินและหนี้สิน เป็นการจงใจหลีกเลี่ยงการตรวจสอบและจงใจปกปิดทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างการดารงตำแหน่ง วิธีการตรวจสอบเช่นเดียวกับการตรวจยืนยันข้อมูล แต่จะตรวจโดยละเอียดยิ่งขึ้น รวมทั้งสิ้น 25 เรื่อง ดังนี้
  ผ่านผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค ๗ จำนวน 22 เรื่อง
 คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติ จำนวน 3 เรื่อง
4
4. กรณีจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ
๔.๑ ผลการดำเนินการเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า จงใจไม่ยื่นบัญชีฯ หรือยื่นบัญชีฯ ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ รวม 24 ราย ดังนี้
 กรณีจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ 19 ราย / กรณีจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน 5 ราย
ภารกิจด้านการปราบปรามการทุจริต
มีเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบ จำนวน 1,314 เรื่อง แบ่งเป็นเรื่องอยู่ในขั้นตอนแสวงหาข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐาน จานวน ๑,๑๖1 เรื่อง และเป็นเรื่องที่อยู่ในขั้นตอนไต่สวนข้อเท็จจริง จำนวน ๑53 เรื่อง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
๑. แสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน จำนวน ๑,๑๖1 เรื่อง
/ เรื่องค้างเก่า จำนวน 882 เรื่อง
/ เรื่องรับใหม่ จำนวน 278 เรื่อง
ผลการแสวงหาข้อเท็จจริง
/ อยู่ระหว่างแสวงหาข้อเท็จจริง จำนวน 736 เรื่อง
/ คณะอนุกรรมการกลั่นกรองเรื่องกล่าวหาประจำภาค 7 มีมติ จำนวน 340 เรื่อง
/ดำเนินการเสร็จ จำนวน 85 เรื่อง
/มีคำสั่งให้ไต่สวน จำนวน 19 เรื่อง
 ส่งกลับพนักงานสอบสวน จำนวน 17 เรื่อง / ไม่รับไว้ดพเนินการไต่สวน จำนวน 49 เรื่อง
๒. เรื่องไต่สวนข้อเท็จจริง จำนวน 153 เรื่อง/ เรื่องค้างเก่า จานวน 134 เรื่อง
/ เรื่องรับใหม่ จำนวน 19 เรื่อง
ผลการไต่สวนข้อเท็จจริง
/ อยู่ระหว่างไต่สวนข้อเท็จจริง จำนวน 111 เรื่อง / อยู่ระหว่างเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. จำนวน 19 เรื่อง
/ คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติ จำนวน 22 เรื่อง/ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด จำนวน 19 เรื่อง /ให้ข้อกล่าวหาตกไป จำนวน 3 เรื่อง
โดยนายพิเชฐ กล่าวภายหลังการแถลงข่าว ว่า ป.ป.ช. ให้ความสำคัญกับการสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต การแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและ ผลประโยชน์ส่วนรวม การพัฒนาศักยภาพและความรู้ให้กับเครือข่าย การสร้างความตระหนักรู้ในความสำคัญของ ปัญหาการทุจริต ซึ่งเชื่อมั่นว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการต่อต้านการทุจริต และการป้องกันการทุจริตเชิงรุก โดยเฉพาะการที่ ประชาชนในสังคมเห็นถึงผลกระทบอันร้ายแรงของการทุจริต และปฏิเสธการทุจริตในทุกรูปแบบ ด้วยการสมัครเป็นสมาชิกชมรม STRONG–จิตพอเพียงต้านทุจริต ซึ่งสมาชิกฯ หลายราย ที่ได้รับมอบใบประกาศเกียรติคุณฯในครั้งนี้ ต่างกล่าวยืนยันว่า ชมรม STRONG–จิตพอเพียงต้านทุจริต เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนช่วยกันสอดส่องดูแลผลประโยชน์ของชุมชน ขณะเดียวกัน  ผู้ที่จะทำการทุจริตก็ไม่กล้าที่จะทำผิด ซึ่งส่งผลให้โครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน ได้รับผลประโยชน์ ร้อยเปอร์เซ็นต์  อย่างไรก็ตาม ฝากถึงประชาชนทุกคนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมไม่ทนต่อการทุจริต ทุกรูปแบบ