ตรัง สสจ.ตรังจัดชุดเคลื่อนที่ป้องกันโควิด -19

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง  จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ 30 ชุด ลงพื้นที่ตรวจสอบและสืบหาข้อมูลจากผู้ที่เดินทางไปกลับจากจังหวัดสมุทรสาคร ที่มีการล็อคดาวน์ โดยมีการเฝ้าระวังใน 3 กลุ่มเสี่ยง พร้อมทั้งยังคงมาตรการในการเตรียมพร้อมรับมือการแพร่ราดของโควิด -19

นายแพทย์บรรเจิด  สุขพิพัฒน์ปานนท์  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง กล่าวว่า จากการที่จังหวัดสมุทรสาครร่วมกับกรมควบคุมโรคได้แถลงข่าว ด้วยความที่จังหวัดตรังก็มีส่วนเชื่อมโยงกับตลาดมหาชัย สมุทรสาครพอสมควร เชื่อมโยงอย่างไรบ้าง กลุ่มแรกคือ กลุ่มขับรถห้องเย็นที่ส่งผลิตภัณฑ์อาหารทะเลและกุ้งที่ไปส่งที่สมุทรสาคร ซึ่งโดยข้อมูลเบื้องต้นทราบว่าวันละประมาณ 20 เที่ยว/วัน ซึ่งคนกลุ่มนี้ก็จะไป ๆ มาๆ ระหว่างตรัง กันตัง สมุทรสาคร กลุ่มที่ 2 ทราบว่ามีคนงานพม่าที่ทำงานอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมต้องไปต่อพาสปอร์ต หรือไปเยี่ยมญาติพี่น้องต่าง ๆ ที่สมุทรสาครก็กลับมา กลุ่มที่ 3 คือคนจังหวัดตรังอาจจะไปท่องเที่ยวหรือไปเยี่ยมญาติพี่น้องที่สมุทรสาคร หรือคนจากสมุทรสาครมาเยี่ยมญาติหรือมาท่องเที่ยวที่ตรังนั้น อีกกลุ่มที่เราคาดไปว่าอาจจะมี เช่น หลังจากสมุทรสาครล็อคดาวน์ อาจจะมีคนเล็ดลอดมา เป็นพี่น้องแรงงานต่างด้าวก็ดี หรือเป็นคนตรังที่ไปประกอบอาชีพที่สมุทรสาครก็ดี อาจจะเล็ดลอดเข้ามา และอีกกลุ่มหนึ่งต้องยอมรับความจริงว่าอาจจะมีแรงงานเถื่อน ซึ่งไม่ได้ผ่านระบบที่จะเข้ามาทำงานในจังหวัดตรัง เมื่อเรามีข้อมูลประมาณอย่างนี้แล้ว และได้มีการประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและวางแผนว่าจะทำอย่างไรเพื่อจะได้เป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อจะได้ป้อนเข้าที่ประชุมคณะกรรมการจังหวัดอีกครั้งหนึ่ง โดยได้ข้อสรุปดังนี้   ในกลุ่มคนขับรถขนส่งอาหารทะเลและกุ้ง กับคนงานพม่าที่ไปต่อพาสปอร์ต ซึ่งทราบว่าเขาไปประมาณ 7-8 ชั่วโมงคนแน่นมาก คนกลุ่มนี้วันนี้ส่งทีมสอบสวนโรค ควบคุมโรค ซึ่งเพิ่งจะได้เข้าอบรมใหม่ ๆ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา มีทั้งหมด 30 ทีม อำเภอละ 3 ทีม โดยส่งประกบสอบสวนกับคนกลุ่มนี้เพื่อจะได้รับรู้ รับทราบว่าครอบครัวเขาอยู่ที่ไหน เพราะว่าคนในครอบครัวคือคนที่ใกล้ชิดเขาจะเอาสวอคมาตรวจหาเชื้อนั่นกลุ่มที่ 1 ส่วนกลุ่มพี่น้องประชาชนไม่ว่าคนสมุทรสาครมาเยี่ยม คนตรังไปเที่ยว อย่างนี้เราจะออกเป็นประกาศจังหวัดเพื่อให้ข้อมูลเบื้องต้นเขา ให้เขาดูแลตัวเองอย่างไร จะติดต่อเจ้าหน้าที่อย่างไร ส่วนอีกกลุ่มอาจจะเป็นแรงงานที่ลักลอบเข้ามาหรือคนที่มาจากสมุทรสาครอันนั้นเราอาศัยกลไก 2-3 กลไก กลไกที่ 1 คือ กลไกทางสังคมซึ่งเราประสบความสำเร็จมาแล้วในช่วงโควิดระลอกหนึ่ง ก็คือพี่น้อง อสม. แม้กระทั่งพี่น้องประชาชนในหมู่บ้านก็ช่วยกันเป็นหูเป็นตาว่าใครเข้ามาในหมู่บ้าน เพื่อจะได้ให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและไปให้ข้อแนะนำเขา และอีกกลไกหนึ่งก็ต้องอาศัยด่านความมั่นคงซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเขาก็ทำอยู่แล้ว ก็คิดว่าเบื้องต้นประมาณอย่างนี้

ขณะนี้ทาง สสจ.มีการจัดเตรียมได้มีการเตรียมการมาตั้งแต่ระลอกแรกแล้ว จังหวัดตรังมี 1 โรงพยาบาลศูนย์ 9 โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์เรามีห้องเนกาตีฟเพรสเชอร์ ซึ่งจุได้ 40 เตียง ข้อที่ 2 โรงพยาบาลชุมชนเรามีห้องเนกาตีฟเพรสเชอร์แห่งละ 1 และอาจจะแบ่งห้องพิเศษแห่งละ 1 ห้อง ตีว่าประมาณอีก 18 ห้อง ก่อนหน้านี้ได้เตรียมการทำโรงพยาบาลสนามในเฟสแรก ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นร่วมด้วย นั่นคือในเฟสแรกที่เตรียมรับผู้ป่วย ก็ต้องยอมรับความจริงว่าผู้ป่วยโควิดน้อยมากที่จะต้องนอน รพ. ไม่ถึง 10% ของผู้ติดเชื้อ ก็คิดว่าเอาอยู่ในระดับแรก ถ้ามากกว่านั้นจริง ๆ ก็ต้องปิดโรงพยาบาลบางแห่งเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิดโดยเฉพาะ ซึ่งนั้นคงต้องทำความเข้าใจกับสังคมรอบด้านให้มากพอสมควรนั่นในส่วนของโรงพยาบาล ส่วนของบุคลากรเมื่อกี้ได้พูดแล้วก็คือทีมสอบสวนโรค เราได้เตรียมพร้อมไว้เต็มที่ ทีมรักษาพยาบาล เราก็มีกำลังพล แพทย์ พยาบาลก็เตรียมพร้อม ในเรื่องของการตรวจก็เป็นเรื่องสำคัญ เมื่อก่อนเราตรวจได้ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ตรัง จังหวัดตรังส่งที่นี่ ถ้าจังหวัดอื่นเช่น จังหวัดพัทลุง ส่งศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สงขลา แต่ ณ วันนี้โรงพยาบาลตรังก็ตรวจได้แล้ว เพราะฉะนั้นห้องปฏิบัติการ 2 แห่งนี้ก็เพียงพอที่จะดูแลคนตรัง ในส่วนของยา กระทรวงสาธารณสุขก็มีระบบในการจัดการเรื่องของยาที่จะเฝ้าติดตามและซัพพลายยาให้ทันท่วงที ส่วนของวัสดุอื่น ๆ เช่น แมส เจลล้างมือ ต่าง ๆ มีพร้อม วันนี้ยังเหมือนเดิม การ์ดต้องไม่ตก การ์ดคืออะไรบ้าง ใส่แมส ทิ้งระยะห่าง ล้างมือบ่อย ๆ ถ้าไม่มี    แอลกกอฮอล์ น้ำและสบู่ดีที่สุด เพราะเชื้อไวรัสตัวนี้ผิวมันเป็นไขมัน ถ้าโดนน้ำสบู่ยังไง ๆ เชื้อก็ตาย นั่นข้อที่หนึ่งในการป้องกันตัวเอง ข้อที่ 2 เราอยู่ในชุมชน ในหมู่บ้าน โดยทั่วไปในหมู่บ้านคนจะรู้จักกันหมด ถ้าคนแปลกหน้าแปลกตาเข้ามากลไกที่เรามีอยู่ในชุมชนใช้เลย พี่น้อง อสม.ก็มี บอกหมออนามัยต่าง ๆ ก็ได้ทั้งนั้น ผู้นำชุมชน กำนันผู้ใหญ่บ้านบอกได้หมด ช่วยกันเป็นหูเป็นตา  ทั้งนี้ทรัพยากรที่เรามีอยู่และมีความตั้งใจผมคิดว่าเพียงพอ ถ้าไม่เหลือบ่าฝ่าแรง ตัวเลขที่กระทรวงสาธารณสุขเคยคำนวณไว้เขาบอกว่า ถ้าไม่เกิน 5 คน ต่อแสนประชากรต่อสัปดาห์ เรารับมือได้ แต่มันเกิด 5 วง 7 วง 8 วงขึ้นมานั่นถือว่ามากกว่าแน่นอนและจะลำบากในการรับมือกับโควิด-19