นราธิวาส จัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ โครงการชุมชนท่องเที่ยว Otop นวัตวิธี จังหวัดนราธิวาส “ล่องใต้ ลองแล มะนารอ”

นราธิวาส จัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ โครงการชุมชนท่องเที่ยว Otop นวัตวิธี จังหวัดนราธิวาส “ล่องใต้ ลองแล มะนารอ”

ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส นายธรรมรงค์ คงวัดใหม่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เป็นประธานเปิดกิจกรรมสร้างการรับรู้ โครงการชุมชนท่องเที่ยว Otop นวัตวิธี จังหวัดนราธิวาส “ล่องใต้ ลองแล มะนารอ” ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งภายใต้นโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยเป็นโครงการตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2561 ที่เน้นส่งเสริมการสร้างรายได้เพิ่มของชุมชนที่มาจากการท่องเที่ยว ใช้เสน่ห์ภูมิปัญญา วิธีชีวิตวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ แปลงเป็นรายได้ ต้องการให้ลูกหลานไม่ต้องออกไปหารายได้จากภายนอกชุมชน รายได้กระจายสู่คนทุกกลุ่มในชุมชน เกิดการสร้างความเข้มแข็งและมั่นคงให้แก่ชุมชนตามวิธีชีวิตพื้นถิ่นอย่างมีความสุข โดยมีนายไกรวุฒิ ช่วยสถิต พัฒนาการจังหวัดนราธิวาส หัวหน้าส่วนราชการ คณะกรรมการชุมชนท่องเที่ยวชุมชนในแต่ละอำเภอ จำนวนนับพันคนเข้าร่วมกิจกรรม พร้อมนำผลิตภัณฑ์ Otop ระดับต่างๆมาวางโชว์ และสาธิตกรรมวิธีการผลิตสินค้าให้ชมและยังมีสถานที่ที่น่าท่องเที่ยวในจังหวัดนราธิวาส ให้ชมและเชิญชวนไปท่องเที่ยวอีกหลายแห่ง

นายไกรวุฒิ ช่วยสถิต พัฒนาการจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า โครงการชุมชนท่องเที่ยว ซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณตามกรอบแผนงานโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จำนวน 137,320,000 บาท โดยมีเป้าหมายดำเนินการในพื้นที่หมู่บ้านท่องเที่ยวชุมชนกระจายในพื้นที่ 13 อำเภอ จำนวน 52 ยูนิต (กลุ่มหมู่บ้าน) รวม 82 หมู่บ้าน/ชุมชน โดยมีแนวทางขับเคลื่อนโครงการที่สำคัญ 5 กระบวนการ คือ 1.การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว 2.การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวก 3.การพัฒนาสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว 4.การเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวแต่ละท้องถิ่น และ 5.การส่งเสริมการตลาดชุมชนท่องเที่ยว โดยมุ้งหวังให้เกิดการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวของหมู่บ้านเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10
โดยกระบวนการขับเคลื่อนภารกิจดังกล่าวในพื้นที่ จ.นราธิวาส “ไปสู่ความสำเร็จนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนภายในจังหวัด ทั้งภาคราชการ ภาคเอกชน ประชาสังคม ภาควิชาการ และที่ขาดไม่ได้คือ เพราะผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินโครงการนั้นย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อพี่น้องประชาชนในระดับพื้นที่”

พัฒนาการจังหวัดนราธิวาส ยังเปิดเผยต่อไปอีกว่า ส่วนกระบวนการทำงานของโครงการนั้น เน้นการสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วม ตั้งแต่กระบวนการคิดวางแผน การลงมือปฏิบัติและการร่วมรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น ผู้ที่เป็นพระเอกของงานคือ คณะกรรมการชุมชนท่องเที่ยว ซึ่งเป็นแกนนำหลักสำคัญในการนำพาพี่น้องประชาชนในพื้นที่ร่วมกันพัฒนาบ้านของตนเองให้สะอาด น่าอยู่ น่ามอง และปลอดภัย ก่อนที่จะมีการจัดกิจกรรมชวนเพื่อนมาเที่ยว มาเยี่ยมเยียนบ้านของเรา กระบวนการสร้างความเป็นมิตร การต้อนรับที่ดี การเป็นเจ้าบ้านที่ดี จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสร้างความเข้าใจและพัฒนาวิธีการปฏิบัติ

 

สำหรับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาสังคม และภาควิชาการ ก็มีหน้าที่ในการร่วมผลัดดัน สนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการท่องเที่ยวชุมชนให้ไปสู่ความสำเร็จตามที่ชุมชนมุ้งหวังไว้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดกิจกรรมในวันนี้จะเป็นจุดเริ้มต้นของการสร้างความเข้าใจของทุกภาคส่วน และเป็นการหลอมรวมขวัญกำลังใจของพวกเราทุกคนที่จะร่วมกันทำงานอย่างหนัก เพื่อพัฒนาจังหวัดนราธิวาส ให้น่าอยู่ ร่วมกันนำเสนอมุมมองที่ดีๆของจังหวัดให้เป็นที่ประจักแก่สายตาคนภายนอก แสดงให้เขาเห็นว่า นราธิวาสเป็นเมืองที่มีของดีซ่อนอยู่ น่าค้นหา น่าสนใจ น่ามาเที่ยว และน่ามาเยือน.