ตรัง โครงการทหารพันธุ์ดีค่ายเทพสตรีศรีสุนทร




กองพลทหารราบที่ 5 จัดโครงการ”ทหารพันธุ์ดีค่ายเทพสตรีศรีสุนทร”  เป็นโครงการที่น้อมนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาดำเนินการให้เป็นรูปธรรมในค่ายทหาร และเป็นการสนองพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการให้ทหารมีองค์ความรู้ด้านการเกษตรและนำไปขยายผลไปยังชุมชนบ้านเกิดต่อไป

        ที่ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร  ตำบลกะปาง  อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช พลตรี  ศานติ  ศกุนตนาค ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5  ตรวจเยี่ยมความคืบหน้าการดำเนินโครงการ “ทหารพันธุ์ดีค่ายเทพสตรีศรีสุนทร” ณ พื้นที่ดำเนินโครงการ ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร ต.กะปาง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช​ ทั้งนี้ได้เน้นย้ำการปฏิบัติโดยให้หน่วยให้ความสำคัญ และดำเนินงานให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนด โครงการทหารพันธุ์ดีเป็นโครงการที่น้อมนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาดำเนินการให้เป็นรูปธรรมในค่ายทหาร และเป็นการสนองพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการให้ทหารมีองค์ความรู้ด้านการเกษตรและนำไปขยายผลไปยังชุมชนบ้านเกิดต่อไป  ความหมายของทหารพันธุ์ดี (ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง) ทหารพันธุ์ดี  คือ  กําลังพลหรือทหารกองประจำการที่มีความสนใจในด้านการเกษตรได้มีโอกาสเรียนรู้ขั้นตอนและกระบวนการทางด้านการเกษตรจากนั้นเมื่อปลดประจำการแล้ว สามารถนำองค์ความรู้กลับไปขยายผลในท้องถิ่นของตน ประยุกต์ใช้ในรูปแบบ “ปราชญ์ชาวบ้าน” และสร้างเครือข่ายการเกษตรในชุมชนของตนเปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์ที่ดี ที่สามารถเจริญงอกงามได้ดีในพื้นที่ต่างๆ ออกดอกออกผลสร้างอาหารและรายได้ให้กับคนในท้องถิ่นต่อไป  เศรษฐกิจพอเพียง คือ แนวพระราชดำริในของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในด้านการดำรงชีวิตบนพื้นฐานของทางทางสายกลาง คำนึงถึงการใช้ชีวิตแบบพอเพียง ในกรอบของความพอประมาณ ความมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน โดยมีเงื่อนไขในการตัดสินใจ 2 ประการ คือ ด้านความรู้ และความมีคุณธรรม โดยอาศัยวิธีการ ทางด้านการเกษตรแบบพอเพียง มาใช้ในการดำรงชีวิต  ดังนั้นทหารพันธุ์ดีเป็นการนำโครงการเศรษฐกิจแบบพอเพียงมาต่อยอด ขยายผล โดย มุ่งสร้างองค์ความรู้ที่ตัวบุคคล เพื่อนำไปขายผลในท้องถิ่นของตนโดยใช้ “การเกษตรแบบพอเพียง” มาเป็นแนวทางในการผลิตพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ต่างๆ สำหรับทูลเกล้าถวายเพื่อแจกจ่ายให้ประชาชนต่อไป