ตรัง ทช.ร่วมกับชาวประมงอนุรักษ์พะยูนเพื่อเพิ่มจำนวนประชากรพะยูน




สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่  7 จังหวัดตรัง  ร่วมกับกลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ดุหยงและชมรมเรือประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง วางแนวทางเพิ่มประชากรพะยูนและดูแลแหล่งหญ้าทะเล และร่วมมือกับชาวบ้านในการดูแลพะยูน เพื่อป้องกันการล่าพะยูนหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุโดนใบพัดเรือของชาวประมง

ที่มูลนิธิอันดามัน ตำบลควนปริง  อำเภอเมืองตรัง  จังหวัดตรัง นายไมตรี  แสงอริยนันท์  ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่  7 จังหวัดตรัง  เชิญกลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ดุหยงและชมรมเรือประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง มาร่วมวางแผนการอนุรักษ์พะยูนและหญ้าทะเล  ในพื้นที่ทะเลจังหวัดตรังเรา มีพะยูนมากที่สุดในประเทศถึง 185 ตัว จากเมื่อปี 2556 มีเพียง 125 ตัว เพิ่มขึ้นประประมาณ 8 ตัว จากจำนวนพะยูนทั้งประเทศจำนวน 250 ตัว นั้นแสดงให้เห็นว่าความสำเร็จจากความพยายามของพวกเราทุกคน ทุกภาคส่วนในจังหวัดตรัง ประสบผลสำเร็จในการร่วมมือกัน ปกป้อง ดูแลพะยูน และแหล่งหญ้าทะเล ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยและอาหารของพะยูน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ร่วมกันอนุรักษ์พะยูน การดูแลพะยูนและ หญ้าทะเลได้ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ และแหล่งทำการประมงจับสัตว์น้ำ กุ้ง หอย ปู ปลา อีกทั้งพะยูนเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดตรัง ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาจังหวัดตรัง ได้ให้ความสำคัญกับพะยูนและแหล่งหญ้าทะเลมาอย่างต่อเนื่อง จะเห็นว่าในช่วงที่มีการนำ มาเรียมมาอนุบาลในพื้นที่ทุกฝ่ายได้ร่วมกันเป็นอย่างดี แต่ก็น่าเสียดายที่ไม*สามารถทำให้ มาเรียมอยู่ในบ้านเราได้การอนุรักษ์พะยูนถือเป็นบทบาทของทุกฝ่ายที่จะร่วมมือกัน เช่นเดียวกันการประชุมหารือร่วมกันจัดแผนการอนุรักษ์พะยูนและถิ่นที่อยู่อาศัยในพื้นที่ จังหวัดตรังครั้งนี้ จะช่วยให้พวกเรามีแผนจัดการจัดการพะยูนทั้งแผนกิจกรรมและโครงการที่ เกี่ยวข้องที่ชัดเจน และสามารถนำแผนไปปฏิบัติอย่างได้ผลเป็นรูปธรรมในระยะเวลา 3 ปีนี้

ทางด้านนายไมตรี   แสงอริยนันท์   ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่  7 จังหวัดตรัง  กล่าวว่า  จากการสำรวจพบว่าพะยูนในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 250 ตัว  70 เปอร์เซ็นต์อยู่ที่จังหวัดตรัง เมื่อ 2560มีอยู่ 165 ตัว ปี2562 มี 188 ตัว และรัฐบาลโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตั้งเป้าภายใน 3 ปี ต้องเพิ่มประชากรพะยูนให้ได้ 280 ตัว จากเดินที่ตั้งไว้ 250 ตัว ดังนั้นจึงมีการบริหารจัดการ ประเด็นหลักนั้นลดภัยคุกคามของพะยูนและฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลอาหารของพะยูน  ที่มีอยู่ประมาณ 3 หมื่นไร่ ภัยคุกคามนั้นมีหลายปัจจัย เช่น เครื่องมือประมง  พะยูนอาศัยอยู่มากที่เกาะลิบง โดยอาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ ทั้งนี้ได้มีการประสานงานร่วมกับทุกภาคส่วนในการร่วมกันอนุรักษ์พะยูนและหญ้าทะเลของจังหวัดตรัง