สำนักงานสูจน์หลักฐาน 7 ทำบุญสำนักงานชั่วคราววัดไผ่ล้อม

สำนักงานสูจน์หลักฐาน 7 ทำบุญสำนักงานชั่วคราววัดไผ่ล้อม




พล.ต.ท.วิเชียร ตันตะวิริยะ ผบช.สพฐ.ตร. เป็นประธานในพิธีทำบุญ สำนักงานสูจน์หลักฐาน 7 (สำนักงานชั่วคราว) อาคารพาณิชย์หน้าวัดไผ่ล้อม ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม พร้อมด้วยพล.ต.ต.คำรณ บุญเลิศ ผบก.จ.นครปฐม และเจ้าหน้าที่ สพฐ.7ร่วมพิธี โดยมีพระครูปลัดสิทธิวัฒน์ (หลวงพี่น้ำฝน)เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมคณะพระสงฆ์วัดไผ่ล้อม เจริญพระพุทธมนต์ ซึ่งสำนักงานสูจน์หลักฐาน 7 (สำนักงานชั่วคราว) แห่งนี้เป็นพื้นที่ของวัดไผ่ล้อม โดยพระครูปลัดสิทธิวัฒน์ (หลวงพี่น้ำฝน)เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม ให้ใช้เป็นระยะเวลา2ปี    ซึ่งอาชญากรรมเกิดขึ้นและพบเห็นอยู่เสมอ การค้นหาและจับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษ ตามกระบวนการยุติธรรมนับเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งของตำรวจ  ซึ่งภารกิจนี้ ต้องอาศัยความรู้ความสามารถของตำรวจ ในสายงานที่ทำงานเกี่ยวกับงานพิสูจน์หลักฐานโดยตรง คดีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น การใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ผสานกับหลักนิติวิทยาศาสตร์ สามารถช่วยในการจับกุมคนร้ายได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะต้องมีการรวบรวมพยานหลักฐาน มายืนยันให้สามารถพิสูจน์ความผิดได้อย่างชัดเจน

นิติวิทยาศาสตร์  (Forensic Science)  คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทุกสาขามาประยุกต์ใช้ในการเก็บและพิสูจน์หลักฐาน ตรวจร่างกาย และวัตถุพยาน เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์  เคมี คอมพิวเตอร์  เป็นต้น เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีความต่าง ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อผลในการบังคับใช้กฎหมาย และการลงโทษผู้กระทำความผิดนั่นเอง
นิติวิทยาศาสตร์  (Forensic Science)  ที่พบได้ทั่วไป มีดังนี้
1. การตรวจสถานที่เกิดเหตุ และการถ่ายรูป (Crime Scene Investigation and Forensic)
ขั้นตอนแรกของงานพิสูจน์หลักฐานของงานสืบสวนทางนิติวิทยาศาสตร์คือการตรวจสถานที่เกิดเหตุ  นำโดยหัวหน้าทีมสืบสวนและพิสูจน์หลักฐาน ร่วมกับตำรวจพื้นที่เข้าสำรวจพื้นที่เกิดเหตุเบื้องต้น และกำหนดแนวทางค้นหาวัตถุพยาน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลของคดี เจ้าหน้าที่ต้องสวมถุงมือ ชุดป้องกัน และหน้ากาก เพื่อป้องกันการปนเปื้อนระหว่างผู้ตรวจสอบ และสถานที่เกิดเหตุ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะกำหนดจุดกองบัญชาการสำหรับเตรียมอุปกรณ์ พร้อมถ่ายรูปสถานที่เกิดเหตุและพื้นที่โดยรอบ จากนั้นจะใช้แถบสีเหลือง (Police line) กันพื้นที่เพื่อไม่ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใกล้พื้นที่เกิดเหตุโดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันการสูญหายหรือถูกทำลายของวัตถุพยาน

การตรวจสถานที่เกิดเหตุ
– เอกสารระเบียบขั้นตอนการปฏิบัติงานคดีเกี่ยวกับชีวิตและการเก็บหลักฐาน
เรื่อง ขั้นตอนการตรวจสถานที่เกิดเหตุ
วัตถุพยานต่างๆ รวมถึง
คดีเกี่ยวกับชีวิต (OPFS-CS-SP-02)
– เอกสารวิธีปฏิบัติงาน เรื่อง วิธีการปฏิบัติงาน
– รอยลายนิ้วมือ ฝามือ และฝ่าเท้าแฝง
ในคดีเกี่ยวกับชีวิต (OPFS-CS-W-13)
– สิ่งหลงเหลือจากการยิงปืน
– การก็บตัวอย่างและการทดสอบเลือด
โดยใช้ชุดทดสอบฟีนอล์ฟราลีนและ
ชุดทดสอบเฮกซากอน
การตรวจสถานที่เกิดเหตุ
– เอกสารระเบียบขั้นตอนการปฏิบัติงาน
คดีเกี่ยวกับระเบิดและการเก็บหลักฐาน
เรื่อง ขั้นตอนการตรวจสถานที่เกิดเหตุ
วัตถุพยานต่างๆ รวมถึงคดีเกี่ยวกับระเบิด (OPFS-CS-SP-03)
เอกสารวิธีปฏิบัติงาน เรื่อง วิธีการปฏิบัติงาน
รอยลายนิ้วมือ ฝ่ามือ และฝ้าเท้าแฝง
ในคดีเกี่ยวกับระเบิด (OPFS-CS-W-14)
– สิ่งหลงเหลือจากการระเบิด
รวมทั้งพิมพ์ลายนิ้วมือตรวจสอบประวัติบุคคล