บทความ-สร้าง”ครูรักษ์ถิ่น”เพื่อพัฒนาท้องถิ่น

“สร้างครูที่มีคุณภาพและเป็นนักพัฒนาชุมชน   ต้องเป็นครูต้นแบบในการผลิตครูตามความต้องการของพื้นที่ โดยเฉพาะความมีจิตวิญญาณในการสอน ให้การศึกษาให้ความรู้ พร้อมทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและชุมชนท้องถิ่น” นี่คืออัตลักษณ์ของ “ครูรักษ์ถิ่น’

เมื่อกล่าวถึง โรงเรียนในพื้นที่กันดาร ห่างไกล ตามแนวชายขอบ จะมีตำแหน่งว่าง หากเมื่อมีครูไปบรรจุที่นั่น   เมื่ออยู่ครบเวลาก็จะมีการย้ายเพื่อกลับภูมิลำเนาของตน ทำให้โรงเรียนในถิ่นทุรกันดารจะมีสภาพขาดครู อยู่เสมอๆ จนกว่าจะมีครูมาบรรจุใหม่ วนเวียนเป็นวัฏจักร  ทำให้การเรียนการสอนขาดความต่อเนื่อง  และนำไปสู่การขาดโอกาสทางการศึกษา สถานการณ์ที่เกิดขึ้นยิ่งส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

จากการที่จังหวัดกาญจนบุรี  ได้รับให้เป็นจังหวัดนำร่อง    ของโครงการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) โดยเฉพาะครูที่สอนระดับอนุบาลและประถมศึกษากองทุน  เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรีได้ร่วมมือกับสถาบันต่างๆในการจัดสรรทุน   ให้แก่นักเรียนจากครอบครัวที่ขาดแคลนทุนทรัพย์  หรือด้อยโอกาสที่มีฐานะยากจนแต่เรียนดี   มีจิตวิญญาณของความเป็นครู   และมีภูมิลำเนาในตำบลที่โรงเรียนในถิ่นทุรกันดารที่ขาดแคลนครู  ให้ได้เรียนครูจนจบปริญญาตรีตามหลักสูตรอย่างมีคุณภาพ  และได้รับการบรรจุเป็นครูในโรงเรียนตามนักศึกษามีภูมิลำเนาอยู่   เพื่อลดการย้ายออกนอกพื้นที่   อาชีพครูเป็นอาชีพที่มีเกียรติ   ต้องเป็นครูด้วยใจตั้งมั่น   มีสมรรถนะของการเป็นนักพัฒนาชุมชน   มีจิตวิญญาณของความเป็นผู้ให้   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  การให้ความรู้การศึกษา  ให้แนวทางความรู้ด้านการดำรงชีพอย่างมีคุณภาพ   พึ่งพาตนเองได้   เป็นแนวทางในการสานต่อแก่เด็กและเยาวชนของชาติในรุ่นต่อๆไป  กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  และหน่วยงานต่างๆ    ต้องร่วมมือผลักดัน  เพื่อสร้างครูรักษ์ถิ่นให้เพียงพอกับความต้องการและเหมาะสม    สอดคล้องกับวิถีชีวิตสังคมไทยในปัจจุบัน.

วารุณี  สุวรรณจิตต์/เรียบเรียง