นครปฐม เร่งฉีดวัคซีนให้กับเจ้าหน้าที่กลุ่มเสี่ยงบุคลากรทางการแพทย์

จังหวัดนครปฐม เร่งฉีดวัดซีนโควิด-19 ให้กับบุคคลกรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่กลุ่มเสี่ยงด่านหน้าในการลงพื้นที่ป้องกันโควิด-19

   วันที่ (23 เม..64) ที่โรงพยาบาลนครปฐม ได้เร่งดำเนินการฉีดวัดซีนโควิด-19 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า หน่วยสอบสวนและควบคุมโรครวมถึงเจ้าหน้าที่กลุ่มเสี่ยงในการลงพื้นที่ป้องกันโควิด-19ของจังหวัด มีเป้าหมายจำนวน 200 คน โดยมีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวก ตรวจวัดอุณหภูมิ คัดกรองซักประวัติก่อนดำเนินการฉีดวัคซีน ทั้งผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว จะต้องนั่งรอดูอาการไม่พึงประสงค์ก่อน และจะต้องลงทะเบียนแอพพลิเคชั่นไลน์หมอพร้อมซึ่งเป็นระบบรองรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของแต่ละกลุ่ม ที่มีความเสี่ยงแตกต่างกันไป ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร ระหว่างหน่วยงานที่จัดการเรื่องการฉีดวัคซีน การติดตามผลการฉีด กับผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปแล้ว เป็นระบบรายงานติดตามอาการที่ไม่พึงประสงค์ ที่อาจจะเกิดกับผู้ที่รับวัคซีนไปแล้ว ในวันที่ 1, 7 และ 30 รวมถึงเป็นระบบนัดหมายในการรับวัคซีนเข็มที่ 2 และจะส่งข้อความยืนยันการรับวัคซีน หลังรับวัคซีนครบ2 เข็ม นอกจากนี้สามารถออกใบรับรองการรับวัคซีนในรูปแบบดิจิทัลได้ ในรูปแบบเป็นคิวอาร์โค๊ด นำไปแสดงหน่วยงานไหนก็ได้ ส่วนที่เป็นแผ่นกระดาษออกผ่านทางโรงพยาบาลก็มีเช่นกัน

สำหรับประสิทธิผลของวัคซีน Sinovac สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 65.3-91.2 เปอร์เซ็นต์ ป้องกันโรครุนแรงและเสียชีวิตได้ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยต้องรับการฉีดสองเข็ม ห่างกันประมาณ 2-4 สัปดาห์ อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้หลังฉีดวัคซีนมีค่อนข้างน้อย และอาการไม่รุนแรง อาจมีอาการอ่อนล้า ปวดเมื่อยตามตัว และเป็นไข้คล้ายอาการที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ อย่างไรก็ตามหลังฉีดวัคซีนแล้ว ยังคงต้องใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ และรักษาระยะห่างทางสังคมเหมือนเดิม จนกว่าจะมีการกระจายวัคซีนครอบคลุมทั่วประเทศมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครปฐม ภาพ/ข่าว