สภาองค์กรผู้บริโภคประจวบยื่นหนังสือผู้ว่าฯ- ส.ส. ถึงรัฐบาล ชะลอเข้าร่วม CPTPPหวั่นส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชน

เมื่อเวลา 10.00 .วันที่ 21 มิ..64 ที่ศาลากลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายนันทปรีชา คำทอง ประธานสภาองค์กรผู้บริโภคจังหวัดประจวบฯ นายวัชรินทร์ จันทร์เดช ประธานสภาองค์กรชุมชนจังหวัดประจวบฯเป็นตัวแทนสภาองค์กรชุมชนตำบลทั้ง 60 ตำบล พร้อมด้วย ตัวแทนศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคอำเภอ องค์กรคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคตำบล ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดประจวบฯ รวม 13 องค์กร ตัวแทนเกษตรวิถีธรรมชาติจังหวัดประจวบฯ และสภาเกษตรกรจังหวัดประจวบฯ ได้ร่วมยื่นหนังสือถึงรัฐบาล เพื่อชะลอเข้าร่วม CPTPP ผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมี นายศิริศักดิ์ ศิริมังคะลา รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นตัวแทนนายพัลลภ สิงหเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัด รับหนังสือดังกล่าว นอกจากนี้ นายนันทปรีชา คำทอง ประธานสภาองค์กรผู้บริโภค จ.ประจวบฯ พร้อมสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดฯ ได้เข้ายื่นหนังสือผ่าน นายประมวล พงศ์ถาวราเดช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร .ประจวบฯ ที่บ้านพัก อ.บางสะพานอีกด้วย

ทั้งนี้ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศจำนวน 30 จังหวัด รวมทั้ง .ประจวบคีรีขันธ์ พร้อมใจนัดกันยื่นจดหมายต่อ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้ว่าราชการจังหวัด และศูนย์ดำรงธรรมในแต่ละจังหวัด ในวันที่ 21 มิ.. 2564 เพื่อเสนอต่อรัฐบาลให้ชะลอส่งหนังสือเข้าร่วม CPTPPจากการที่รัฐบาลไทย มีนโยบายที่พยายามจะนำประเทศไทย เข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ The Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership(CPTPP) โดยอ้างว่าจากข้อตกลงดังกล่าว ประเทศไทยจะได้ผลประโยชน์มากกว่าเสียผลประโยชน์นั้น

ซึ่งเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ เห็นว่า การเข้าร่วม CPTPP ยังไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะช่วยให้ไทยได้รับเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เนื่องจากเห็นว่ามีผลกระทบมากกว่าผลบวกดังนี้ ผลกระทบด้านลบต่องบประมาณ หรือ ค่าใช้จ่ายของประเทศนั้น จากข้อเสนอของสภาเภสัชกรรมต่อคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) พบว่า จะเกิดผลกระทบไม่น้อยกว่า 420,000 ล้านบาท ในระยะเวลา 30 ปี รวมทั้งมูลค่าของอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศลดลงสูงสุดถึง 1 แสนล้านบาท ซึ่งค่าใช้จ่ายด้านยาที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบโดยตรงต่องบประมาณของรัฐ ในการจัดบริการสาธารณสุข โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านยาในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งจากการคาดการณ์ผลกระทบของ CPTPP ในระยะเวลาประมาณ 30 ปี (2562 – 2590) ประเทศไทยจะมีภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้นมาจากการพึ่งพิงการนำเข้ายาที่สูงมาก ซึ่งส่งผลต่อค่าใช้จ่ายด้านยาที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงด้านยาของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

นอกจากนี้ผลกระทบของ CPTPP ต่อความมั่นคงด้านอาหารทั้งระบบตั้งแต่กระบวนการผลิตเกษตรกรรมจนถึงอาหารที่ผู้บริโภครับประทานดังนี้

  1. เมล็ดพันธุ์แพงขึ้น เพราะเกิดการผูกขาดด้านเมล็ดพันธุ์ของบริษัทยักษ์ใหญ่ไม่กี่เจ้า ทำให้เกษตรกรไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ในการนำไปปลูกต่อได้ ส่งผลให้เมล็ดพันธุ์จะไม่หลากหลาย เนื่องจากเกษตรกรไม่สามารถพัฒนาสายพันธุ์เองได้
  2. เกิดการผูกขาดอุตสาหกรรมอาหารไม่กี่เจ้า ทำให้ต้นทุนในการผลิตอาหารแพงขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภครับประทานอาหารที่แพงมากขึ้น
  3. อาหารที่ผู้บริโภคจะไม่มีความปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจากจะมีหมูที่มีสารเร่งเนื้อแดงจากแคนนาดาทะลักเข้ามาในประเทศไทยโดยไม่มีการควบคุมมากขึ้น
  4. มาตรฐานความปลอดภัยสินค้า GMO ต่ำกว่ามาตรฐานระหว่างประเทศ เนื่องจากความตกลงนี้อ้างอิงการประเมินความเสี่ยงบนฐานทางวิทยาศาสตร์ตามกรอบของ WTO เท่านั้น ซึ่งไม่ได้ใช้หลักการป้องกันเอาไว้ก่อน และไม่มีการคำนึงถึงผลกระทบอาจเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจสังคม

จากเหตุผลข้างต้น เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศจำนวน 30 จังหวัด จึงเห็นด้วยกับแนวทางข้อเสนอของสภาองค์กรของผู้บริโภค ที่เสนอให้คณะรัฐมนตรี คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ขอให้ตระหนักในผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนไทยทั้งประเทศ หากมีการเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการเจรจาเข้าร่วมความตกลง CPTPP ผ่านการพิจารณาด้วยความรอบคอบและมองประโยชน์ของประชาชนที่เป็นผู้บริโภคส่วนใหญ่ มากกว่าผลประโยชน์ทางธุรกิจของกลุ่มคนส่วนน้อยของประเทศ ดังนั้นเครือข่ายองค์กรของผู้บริโภคทั่วประเทศ ขอให้มีการชะลอการส่งหนังสือแสดงเจตจำนงค์เข้าร่วม CPTPP จนกว่าที่จะมีการศึกษาผลกระทบที่แน่ชัดแล้วว่าคนไทยจะไม่ได้รับผลกระทบในด้านต่างๆ ที่ทำให้ผลเสียประโยชน์ในอนาคต//////