ตรัง ผลกระทบโควิดทำให้การสั่งขนมสารทเดือนสิบลดลง

การแพร่ระยาดของโควิด -19 ได้ส่งผลกระทบต่อการจำหน่ายขนมที่ใช้สำหรับประเพณีสารทเดือนสิบของจังหวัดตรัง ยอดการสั่งซื้อลดลง ในขณะที่ราคาขนมไม่มีการปรับขึ้นแต่อย่างใด  ทางด้านนายอำเภอนาโยง เน้นย้ำกำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน ให้ปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข ในการเว้นระยะห่าง การตรวจวัดอุณหภูมิและการล้างมือ  ก่อนที่จะร่วมพิธีสารทเดือนสิบภายในวัด

ที่ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลนาโยงเหนือ  อำเภอนาโยง  จังหวัดตรัง  นายประโยชน์  สมศักดิ์  นายอำเภอเมืองตรัง  พร้อมด้วยนายกเทศมนตรีตำบลนาโยงเหนือ  ลงพื้นที่พบปะชาวบ้านที่ทำขนมประจำประเพณีสารทเดือนสิบจำหน่ายให้กับประชาชน   ท้องถิ่น ที่ใช้ในงานบุญสารทเดือนสิบของชาวภาคใต้ ได้แก่ ขนมตามความเชื่อของชาวภาคใต้ทั้ง 5 อย่างที่จะต้องซื้อไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษในงานบุญเดือนสิบคือ ขนมพอง แทนยานพาหนะ ขนมลาแทนเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ขนมดีซำหรือขนมรู แทนสะบ้าหรือของเล่น ขนมบ้าแทนเบื้ยหรือเงินและขนมกงแทนเครื่องประดับ ซึ่งวันสารทเดือนสิบหรือวันชิงเปรต เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 10 ไปจนถึงวันแรม 15 ค่ำเดือน 10  ในปีนี้ แรม 1 ค่ำเดือน 10  ตรงกับวันที่ 22 กันยายน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าเป็นวันรับตายาย โดยมีความเชื่อว่ายมโลกจะปล่อยบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วให้กลับมายังโลกมนุษย์ เพื่อมารับส่วนบุญส่วนกุศลที่ลูกหลานทำให้  ส่วนวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 จะตรงกับวันที่ 6 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันส่งบรรพบุรุษที่ล่วงรับไปแล้วกลับยมโลกหรือวันส่งตายาย

สำหรับการจำหน่ายขนมลา แผ่นเล็กราคาแผ่นละ 5 บาท แผ่นใหญ่ราคาแผ่นละ 6 บาท ขนมพอง ขนาดเล็กราคา 7 บาท ขนาดใหญ่ ราคา 8 บาท ขนมดีซำหรือขนมรู และขนมบ้า ราคากล่องละ 10 บาท และขนมที่จัดเป็นชุด ประกอบด้วย ขนมพอง ขนมลา ขายในราคาชุดละเล็กราคาชุดละ 20 – 30 บาท แต่หากเป็นชุดใหญ่ ราคาชุดละ 25 – 35 บาท  ทางด้านนายประโยชน์  สมศักดิ์  นายอำเภอนาโยง  กล่าวว่า ศบค.ไม่ได้มีการสั่งห้ามในการงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ แต่ต้องปฏิบ้ติตามมาตรการของการสาธารณสุขในการเว้นระยะห่าง การตรวจวัดอุณหภูมิและการล้างมือ  ก่อนที่จะร่วมพิธีสารทเดือนสิบภายในวัด และงดการรับประทาอาหารร่วมกันภายในวัด ซึ่งได้เน้นย้ำกำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน ประกาศให้ประชาชนได้รับทราบถึงมาตรการดังกล่าว  ทางด้าน  นางชะออม   ฤทธิฉิม อายุ 44 ปี  256หมู่ที่ 5 ต.นาโยงเหนือ  อ.นาโยง จ.ตรัง ประธานกลุ่มอาชีพการทำขนมไทยพื้นบ้าน  ที่นำชาวบ้านมาทำขนมที่บริเวณ กศน.ตำบลนาโยงเหนือ กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19  นั้นทำให้ยอดการสั่งซื้อลดลงประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์  เนื่องจากประชาชนอาจจะไปวัดลดน้อยลง เกรงว่าการไปรวมตัวของคนจำนวนมากจะทำให้ติดเชื้อโควิด -19  อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่มาทำขนมจำหน่ายนั้นจะมีราบได้วันละประมาณ 300 บาท