ผู้ว่าสุพรรณบุรี เปิดโครงการ “กระเสียวปันน้ำใช้ ร่วมใจประชารัฐ”

จากปัญหาภัยแล้ง  น้ำไม่พอใช้ในช่วงหน้าแล้ง เป็นอีกหนึ่งภัยที่ จ.สุพรรณบุรี ต้องประสบปัญหามาตลอด  รวมถึงที่ ต.หนองมะค่าโมง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี  ซึ่งทางกรมชลประทาน  ได้ดำเนินการจัดสรรงบประมาณ ก่อสร้างโครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านทุ่งดินดำ พร้อมเดินระบบส่งน้ำงบประมาณจำนวน 70 ล้านบาท ผ่านระบบท่อใต้ดินสายหลัก เพื่อนำน้ำลงลำห้วยขจี โดยมีการกำหนดพื้นที่รับโดยทำการสูบน้ำจากเขื่อนกระเสียว  ผ่านระบบชลประทาน  ซึ่งจะมีพื้นที่เกษตรกรรม ได้รับประโยชน์โครงการทั้งหมด 7,142 ไร่ แต่โครงการดังกล่าวฯ ยังคงเหลือระยะทางอีก 1.4 กิโลเมตร ซึ่งมีลักษณะตื้นเขิน น้ำไม่สามารถไหลลงลำห้วยขจี  ทำให้พื้นที่ดังกล่าวอีกกว่า 1พันไร่  ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้

ทางผู้นำชุมชนกำนัน นายก อบต. ผู้ใหญ่บ้าน และภาคส่วนเอกชน กลุ่มบริหารกลุ่มผู้ใช้น้ำลำห้วยขจี  จึงได้ร่วมมือกันผลักดันให้มีการขุดลอกลำห้วยดังกล่าวขึ้น ซึ่งเป็นการรวมตัวของผู้นำชุมชน และเกษตรกรผู้ใช้น้ำจัดทำโครงการ “กระเสียวปันน้ำใช้ ร่วมใจประชารัฐ” เพื่อพัฒนาลำห้วยขจี (ขุดลอกลำห้วยขจี) เพื่อช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรรมของกลุ่มเกษตรกร ในตำบลด่านช้างและตำบลหนองมะค่าโมง โดยได้รับความ อนุเคราะห์ และได้รับการสนับสนุนงบประมาณ สำหรับการขุดลอกลำห้วยขจี  จาก บริษัท โรงงานน้ำตาลมิตรผล จำกัด(มหาชน) จำนวน 252,000  บาท

โดยมีนายณัฐภัทร  สุวรรณประทีป ผวจ.สุพรรณบุรี  , นายสิทธิศักดิ์  แย้มพรายภิรมย์ นอภ.ด่านช้าง , กำนายธนพงศ์ จันทร์สุวรรณ กำนันตำบลหนองมะค่าโมง  ร่วมกับเปิดงาน  ซึ่งหลังจากมีการตัดริ้นบิ้นเปิดโครงการแล้ว ซึ่งหลังจากมีการตัดริ้นบิ้นเปิดโครงการแล้ว  นายณัฐภัทร  ได้กระโดดขึ้นขับรถแบคโฮ  ทดลองขับใช้บุ้งกี๊ ตักโกยดินเพื่อเปิดปฐมฤกษ์โครงการ  ซึ่งทางด้านผู้ว่าบอกนับเป็นครั้งแรก ในการเปิดงานที่ยิ่งใหญ่ขนาดต้องขับรถแบคโฮเลยทีเดียว  แม้จะไม่เคยขับ แต่เครื่องก็เบาดี  งงๆ มีคันบังคับ 2 ฝั่ง  ถ้าขับบ่อยๆคงชำนาญ  เอ้าว่าแต่ท่านจะไปรับงานขุดดินหลังเกษียณรึอย่างไร

ทางด้านนายธนพงศ์ จันทร์สุวรรณ กำนันตำบลหนองมะค่าโมง  กล่าวว่า ตั้งแต่มีเขื่อนกระเสียวมา 47-48 ปี ชาวบ้าน ต.หนองมะค่าโมง มีหน้าที่เพียงคอยเฝ้าน้ำ แต่น้ำไม่เคยได้ผ่านขึ้นมาให้ใช้เลย  ความฝันตั้งแต่วัยเด็กตนฝันว่าเมื่อไหร่จะมีคลองผ่านบ้าน จะได้เล่นน้ำ ซึ่งตอนนั้นจะเล่นน้ำต้องไปที่เขื่อนกระเสียว  จนวันนี้ วันที่ตนเริ่มเติบโต ในฐานะกำนัน  จึงพยายามผลักดัน การร่วมมือของภาคส่วนในการขุดลอกคลอกผ่านพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อให้ชาวบ้านได้มีน้ำใช้ หลังจากที่เฝ้ามานาน ในไม่ช้านี้เราจะได้มีน้ำใช้กันเสียที หวังว่าพืชผล ทางเกษตรกร จะได้ผมดี เกษตรกรจะมีรายได้มากขึ้น คุณภาพชีวิตจะได้ดีขึ้นไปอีกด้วย