มรน.อบรมเพิ่มศักยภาพอาจารย์ด้านการจัดการเรียนรู้อิงฐานสมรรถนะ (การสอน การวัดประเมินผลการสร้างสื่อ)

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิมล  นวลพระลักษณ์  ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้กล่าวถึงที่มาและความสำคัญของการอบรมเพิ่มศักยภาพอาจารย์ด้านการจัดการเรียนรู้อิงฐานสมรรถนะ (การสอน การวัดประเมินผลการสร้างสื่อ) ว่า สืบเนื่องจากกฎกระทรวงว่าด้วยมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ..2565 ข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการและประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษาทุกฉบับที่เกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษา แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและมาตรฐานคุณวุฒิในสาขาหรือสาขาวิชา และข้อ 7 ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ต้องมีอย่างน้อยสี่ด้าน  ได้แก่ 1) ด้านความรู้ 2) ด้านทักษะ 3) ด้านจริยธรรม และ 4) ด้านลักษณะบุคคล  สอดคล้องกับปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมในปัจจุบัน พบว่ามีการรวมกลุ่มในภูมิภาคต่าง มากขึ้นทั่วโลก อาทิ กลุ่มตลาดร่วมยุโรป กลุ่มอเมริกา ในเอเชียที่ใกล้ตัวมากที่สุดก็ได้แก่ กลุ่มอาเซียน เป็นต้น เป็นที่คาดกันว่าในอนาคตกลุ่มทำนองนี้จะเข้มแข็งและมีบทบาทมากขึ้นในการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ประกอบกับพัฒนาการทางการสื่อสารอย่างรวดเร็วจะมีส่วนทำให้การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมมีมากขึ้น แนวโน้มเช่นนี้จะมีผลต่อสังคมไทยในอนาคต (10-15 ปีข้างหน้าไม่น้อย ประเทศไทยน่าจะมีบทบาทในทางการเมืองเศรษฐกิจ และสังคมโลกมากขึ้น และน่าจะอยู่ในฐานะประเทศระดับผู้นำของกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอินโดจีนได้ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับนับถือจากนานาประเทศมากขึ้น หากสามารถดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้อยู่ในภาวะที่สมดุลกันคือเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่สร้างหรือก่อให้เกิดปัญหาสังคมมากเกินไป

การศึกษาในยุค Thailand 4.0 เป็นมากกว่าการเตรียมความพร้อมของคนหรือให้ความรู้กับคนเท่านั้น แต่เป็นการเตรียมมนุษย์ให้เป็นมนุษย์ กล่าวคือ นอกจากให้ความรู้แล้ว ต้องทำให้เป็นคนที่รักที่จะเรียน มีคุณธรรม และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วย นั่นก็คือการสร้างคนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นทักษะในการคิดวิเคราะห์เป็นหลัก ในขณะเดียวกัน Thailand 4.0 คือ การพัฒนาประเทศให้มีความทันสมัย มีรายได้มากขึ้น และก้าวพ้นจากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง โดยจะต้องผลิตนวัตกรรมใหม่ เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาประเทศ และต้องสามารถติดต่อค้าขายกับนานาประเทศได้ด้วย  การเตรียมความพร้อมนักศึกษานิเทศศาสตร์สมัยใหม่ในยุคThailand 4.0 ในการทำงานเพื่อการพัฒนาประเทศให้ทันสมัย โดยเนื้อหาหลักสูตรจะเปลี่ยนไปตามองค์ความรู้ในโลกยุคใหม่ พร้อมกับการเรียนเฉพาะเรื่องที่สำคัญ และเรียนให้รู้อย่างลึกซึ้ง อาทิ คอมพิวเตอร์ที่จะเป็นการเรียนเกี่ยวกับโปรแกรม ที่ใช้สร้างสรรค์ การสร้างนวัตกรรมและรู้เท่าทันเทคโนโลยี เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้น และส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพอย่างทั่วถึง การเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักศึกษามีทักษะสำหรับการออกไปประกอบวิชาชีพและดำรงชีวิตในโลกเศรษฐกิจยุคดิจิทัล ทักษะที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้(Learning Skill) โดยเน้นทักษะในการคิดวิเคราะห์ และความคิดสร้างสรรค์เป็นหลัก

ในการอบรมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฎฐกรณ์  หลาวทอง  และผู้ช่วยศาสตราจารย์อรรถพล  อนันตวรสกุล  คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ห้องประชุมปิ่นเกลียว มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ให้คณาจารย์มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการจัดการเรียนรู้อิงฐานสมรรถนะ 2) คณาจารย์สามารถนำหลักการและทักษะการจัดการจัดการเรียนการสอนอิงฐานสมรรถนะมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ มุ่งเป้าหมายไปที่การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะที่ต้องการ ลดสาระการเรียนรู้ที่ไม่จำเป็น การสอบวัดสมรรถนะหลักของผู้เรียน ช่วยให้เห็นความสามารถของผู้เรียน และเห็นความสามารถที่เป็นองค์รวมของผู้เรียน 3) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาสมรรถนะหลักที่สำคัญต่อการใช้ชีวิต การทำงานและการเรียนรู้ ซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยใช้ความรู้ ทักษะ เจตคติและคุณลักษณะต่าง ที่ได้เรียนรู้มา