จังหวัดนครปฐม แถลงผลและปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567

วันที่ 18 เมษายน 2567 ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดนครปฐม นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม พร้อมด้วย นายธีรยุทธ์ จันทร์ดิษฐวงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง แถลงผลและปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567 จังหวัดนครปฐม ตั้งแต่วันที่ 11 – 17 เมษายน ที่ผ่านมา ภายใต้หัวข้อการรณรงค์ “ขับขี่ปลอดภัย เมืองไทยไร้อุบัติเหตุ” เกิดอุบัติเหตุ 21 ครั้ง บาดเจ็บ  จำนวน 18 ราย เสียชีวิต  จำนวน 5 ราย

ผู้เสียชีวิตในพฤติกรรมเสี่ยงหลัก ขับเร็วเกินกฎหมายกำหนด ดื่มแล้วขับ ไม่สวมหมวกนิรภัย ขับรถย้อนศรและไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัส

รถจักรยานยนต์  ยังคงเป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด รองลงมา ได้แก่ รถกระบะและรถเก๋งและรถโดยสารสามล้อเท่ากันที่  ตามลำดับ

สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ  ส่วนใหญ่มาจากการขับรถเร็วเกินกฎหมายกำหนด รองลงมา  ได้แก่ ดื่มแล้วขับ ตัดหน้ากระชั้นชิด

พฤติกรรมเสี่ยงสูงสุด  ส่วนใหญ่มาจากการไม่สวมหมวกนิรภัย รองลงมา ได้แก่ ดื่มแล้วขับ ตัดหน้ากระชั้นชิด

          ถนนที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ถนนในอบต./หมู่บ้าน รองลงมา ได้แก่ ถนนของแขวงทางหลวง ถนนทางหลวงชนบท

        ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด  ได้แก่ ช่วงเวลา 00.01 -03.00 น. รองลงมาเหตุเกิด ช่วงเวลา 12.01 – 15.00 และ 21.01 – 00.00 น.

         ช่วงอายุของผู้ประสบอุบัติเหตุมากที่สุดอยู่ในช่วงอายุ 40 – 49 ปี  รองลงมาอยู่ในช่วงอายุ คือ 15 – 19 ปี และ 20 – 29 ปี

          การเรียกตรวจยานพาหนะ จำนวนทั้งสิ้น 32,645 คัน รถจักรยานยนต์  เป็นประเภทรถที่ถูกเรียกตรวจสูงสุด 11,892   คัน คิดเป็นร้อยละ 36.43 รถกระบะ 6,513 คัน คิดเป็นร้อยละ 19.95 และรถเก๋ง 6,352 คัน คิดเป็นร้อยละ 19.46 การดำเนินคดีจำนวน 7,592 ราย สูงสุดกับผู้ไม่มีใบขับขี่  1,910 รองลงมา ได้แก่ ผู้ไม่สวมหมวกนิรภัย  จำนวน 1,585 ราย และลำดับสาม ได้แก่ ขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด  จำนวน 1,026 ราย

โดยศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดนครปฐม  จะนำสถิติและข้อมูลที่ได้ทั้งหมดไปถอดบทเรียนโดยละเอียด ทั้งนี้ให้ถือเป็นภารกิจที่สำคัญให้ทุกหน่วยงานหลักด้านความปลอดภัยทางถนนได้ระดมความคิดในการร่วมกันถอดบทเรียนการปฏิบัติหน้าที่ในเทศกาลนี้  เพื่อจะได้นำบทเรียนทั้งมาตรการที่ส่งผลให้ดำเนินการสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้  และข้อจำกัด  อุปสรรค  สิ่งที่ต้องเติมต่อให้เกิดความสมบูรณ์ หรือขจัดปัญหาต่าง ๆให้น้อยลงด้วยมาตรการที่ผ่านการวิเคราะห์อย่างสอดคล้องกับสถานการณ์ของพื้นที่ (Area Approach) เพื่อส่งผลอันเป็นประโยชน์ในการสร้างความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนของชาวจังหวัดนครปฐม  และผู้ที่สัญจรผ่านเส้นทางของจังหวัดนครปฐม  ได้เดินทางด้วยความสะดวกและปลอดภัยอย่างสูงสุด

*****************************************************

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครปฐม – ภาพ/ข่าว