เขตสุขภาพที่ 5 นำร่องเตรียมความพร้อมห้องปฏิบัติการเครือข่าย SARS-COV-2 รับมือตรวจโควิด-19 ในน้ำลาย

เขตสุขภาพที่ 5 นำร่องเตรียมความพร้อมห้องปฏิบัติการเครือข่าย SARS-COV-2 รับมือตรวจโควิด-19 ในน้ำลาย

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 ร่วมกับเขตสุขภาพที่ 5 โรงพยาบาลนครปฐม ประชุมเตรียมความพร้อมตรวจโควิด-19 ในตัวอย่างน้ำลาย เพื่อขยายศักยภาพห้องปฏิบัติการเครือข่าย SARS-COV-2 เขตสุขภาพที่ 5 ทั้งภาครัฐและเอกชน 14 แห่ง ให้สามารถตรวจ คัดกรองโควิด-19 ด้วยวิธี Real-time RT-PCR จากตัวอย่างน้ำลายได้

วันนี้ 29 กรกฎาคม 2563 ณ ห้องประชุมจตุภัทร โรงพยาบาลนครปฐม) นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยศาสตร์การแพทย์ พร้อมด้วยแพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 5 เปิดการประชุมการตรวจสารพันธุกรรมไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยวิธี Real-time RT-PCR จากตัวอย่างน้ำลาย

ทั้งนี้ภายหลังเปิดการประชุม นายแพทย์โอภาส เปิดเผยว่า ในการค้นหาผู้ติดเชื้ไวรัสโคโรนา 2019 วิธีการเก็บตัวอย่างที่เป็นวิธีมาตฐานที่ยอมรับว่ามีโอกาสพบเชื้อสูงสุดในการค้นหาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วย คือการเก็บตัวอย่างจากระบบหายใจส่วนบน และทางเดินหายใจส่วนล่าง แต่วิธีดังกล่าวมีความเสี่ยงกับบุคลากรทางการแพทย์ และไม่สะดวกในการเก็บตัวอย่างกับกลุ่มคนจำนวนมาก และมีอุปสรรคมากขึ้นหากดำเนินการกับกลุ่มคนที่ต้องข้าไปค้นหาเชิงรุก เช่น กลุ่มแรงงานต่างด้าว ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุข จึงได้มอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พัฒนาการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกรณีที่ต้องตรวจคัดกรองคนจำนวนมาก กรมวิทยศาสตร์การแพทย์จึงได้พัฒนาวิธีการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากน้ำลาย แบบรวมตัวอย่างน้ำลาย จำนวน 5-6 คน ต่อการทดสอบ 1 ตัวอย่าง ทำให้มีความคุ้มค่าและเกิดผลลบลวงน้อยที่สุด เพื่อใช้เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ต้องคัดกรองคนจำนวนมาก

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่ออีกว่า การใช้ตัวอย่างน้ำลายในการตรวจคัดกรองโรค โควิด-19 ชิงรุก ช่วยลดความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์จากการติดเชื้อ เนื่องจากผู้ป่วยสามารถเก็บตัวอย่างได้เอง และอุปกรณ์ในการเก็บหาง่าย ราคาไม่แพง ลดค่าใช้จ่ายในการค้นหาผู้ติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งวิธีนี้นำไปใช้กับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 14 แห่ง ในการค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกจากกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มแรงานต่างด้าวทั่วประเทศแล้วมากกว่า 1 แสนราย ทำให้มีแนวความคิดที่จะถ่ายทอดวิธีตรวจนี้ให้แก่ห้องปฏิบัติการครือข่ย SARS-CoV-2 ที่ผ่นการขึ้นทะเบียนจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์นำไปใช้งานได้ โดยนำร่องในเขตสุขภาพที่ 5 เป็นเขตแรก เนื่องจากเป็นเขตที่มีแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก หลังจากถ่ายทอดวิธีให้แก่ห้องปฏิบัติการเครือข่ายแล้ว กรมวิทยศสตร์การแพทย์จะจัดส่งตัวอย่างทดสอบความชำนาญการตรวจหาไวรัสโคโรนา 2019 จากตัวอย่างน้ำลายแบบรวมตัวอย่าง ทั้งนี้หากห้องปฏิบัติการดำนินการผ่านทั้ง 2 ขั้นตอนแล้ว สามารถนำวิธีการตรวจจากน้ำลาย ไปใช้ในการค้นหาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระบบการสอบสวนโรคในจังหวัดได้ต่อไป