“ชวน” ชี้ “การเมืองสุจริต” แก้ปัญหาทุจริตได้ ถ้าปฏิบัติและลงมือทำ “วิชา” เบิ้ลบุคคลแห่งปี “ANTI-CORRUPTION AWARDS 2020”

ชวนชี้การเมืองสุจริตแก้ปัญหาทุจริตได้ ถ้าปฏิบัติและลงมือทำวิชาเบิ้ลบุคคลแห่งปี “ANTI-CORRUPTION AWARDS 2020” ยกถวิลสปสช.-กฟภ.-มูลนิธิต่อต้านการทุจริตแบบอย่างที่ดีต้านโกง ขณะที่เดลินิวส์คว้ารางวัลทรงคุณค่า

 

ที่ห้องกมลทิพย์ โรงแรม เดอะ สุโกศล เมื่อวันที่ 18 ..63 สมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย) ร่วมกับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด(มหาชน) จัดงานมอบรางวัล“ANTI-CORRUPTION AWARDS 2020” ส่งเสริมการต้านคอร์รัปชั่น ประจำปี ๒๕๖๓โดยมี นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เป็นประธานพิธีมอบรางวัล

นายมานิจ สุขสมจิตร ประธานพิจารณาตัดสินรางวัล กล่าวว่า การพิจารณาตัดสินรางวัลฯ อันทรงเกียรติและทรงคุณค่านี้ คณะกรรมการพิถีพิถันพิจารณาผู้ที่ได้รับรางวัลตามหลักเกณฑ์สำหรับบุคคล องค์กร และสื่อมวลชน ที่มีผลงานด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นที่ประจักษ์ชัด การจัดงานครั้งนี้ คาดหวังว่าจะช่วยให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง และกระตุ้นจิตสำนึกคนไทย ตระหนักถึงการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงกว้าง สร้างขวัญกำลังใจให้บุคคล องค์กร และสื่อมวลชน ที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการต่อต้านการทุจริต

นายมานิจ ยังได้หยิบยกคำกล่าวของ พล...วัชรพล ประสานราชกิจ ประธาน ... ในวันต่อต้านคอร์รัปชั่นสากลเมื่อวันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมา ที่ระบุว่าการทุจริตที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องจวบจนทุกวันนี้ เป็นวิกฤติของประเทศ ที่สร้างความเสียหายอย่างมหาศาลอีกทั้งประธาน ...ยอมรับว่า การทุจริตและประพฤติมิชอบของไทยเรานั้นอยู่ในภาวะวิกฤติแล้ว เป็นการย้ำเตือนทุกคนให้เห็นความสำคัญกับปัญหานี้ และให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันต่อต้านการทุจริตอย่างจริงจังก่อนที่ประเทศชาติจะหายนะ

ด้าน ดร.เอก์ เหลืองสอาด นายกสมาคมฯ กล่าวว่า นับเป็นนิมิตหมายที่ดี ในการจัดงานครั้งนี้ ตรงกับช่วงเวลาสำคัญของโลกที่กำหนดให้วันที่ 9 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันต่อต้านคอร์รัปชั่นสากล และเพื่อยกย่อง เชิดชู บุคคล องค์กร และสื่อมวลชน ที่ให้ความสำคัญในปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยยึดหลักธรรมาภิบาลปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส ซื่อสัตย์ สุจริต เป็นการจุดประกายสร้างจิตสำนึกการต่อต้านทุจริตให้เกิดขึ้นในสังคมไทย

สำหรับรางวัลแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้ ประเภทบุคคล ได้แก่ ข้าราชการ บุคคลทั่วไปรัฐวิสาหกิจ ประชาสังคม/องค์กรอิสระ ประเภทองค์กร ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชนรัฐวิสาหกิจ ภาคประชาสังคม/องค์กรอิสระ และประเภทสื่อมวลชน ได้แก่ หนังสือพิมพ์โทรทัศน์ วิทยุ สำนักข่าว/สื่อออนไลน์

จากนั้น นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อการเมืองสุจริตทางรอดประเทศความตอนหนึ่งว่า อันดับ CPI หรือดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นในภาครัฐ (Corruption Perception Index) ของไทย สวนทางกับที่ประธาน ... แถลงตัวเลขการทุจริตคอร์รัปชั่นภาครัฐในปีงบประมาณ 2562 (สำนักงาน ...รับเรื่องทุจริตไว้ 10,382 เรื่อง วงเงินทุจริต 238,209 ล้านบาท) ซึ่งสะท้อนในบางสิ่งที่ดีและร้าย  

การคอร์รัปชันไทย ไม่เกี่ยวข้องกับยีนส์ หรือพันธุกรรม แต่เกี่ยวกับการถูกปล่อยปละละเลยความมีระเบียบวินัยมานาน แม้ประเทศไทยจะมีรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง แต่ก็ยังไม่สามารถใช้งานได้จริง และแม้จะบัญญัติมาตรการป้องกันการทุจริตมากเท่าใดแต่ทั้งหมดก็ต้องขึ้นอยู่กับการปฏิบัติ

นายชวน กล่าวย้ำว่าทุจริตคอร์รัปชั่น เราต้องเชื่อว่าเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ แต่ต้องเอาจริงเอาจัง การปราบปรามทุจริตสำคัญที่สุด อยู่ที่การปฏิบัติจริง รวมถึงไม่เกรงใจต่อการทุจริต

การทุจริตเป็นเรื่องที่ผู้รับตำแหน่งในสภาฯ ตุลาการ ถูกเน้นย้ำมาตลอด แต่ก็ยังมีปัญหา มีทั้ง ..และรัฐมนตรีที่ตนรู้จักติดคุกหลายคน ทั้งนี้มีหลายคนย้ำว่าการเมืองต้องสุจริต แต่ก็ไม่มีการปฏิบัติ ดังนั้นการแก้ปัญหาคือต้องปฏิบัติ และมีมาตรการเพื่อไม่ให้เกิดวิกฤต

ทั้งนี้ ตนได้ตั้งคณะกรรมการสร้างการเมืองสุจริต โดยให้สถาบันพระปกเกล้าเขียนตำราขึ้นมาใหม่ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เยาวชน โดยเชิญผู้แทนสถาบันการศึกษามหาวิทยาลัย ราชภัฎฯ เข้ามามีส่วนร่วม รวมทั้งสื่อมวลชน และองค์กรเครือข่ายต่างๆเข้ามา  โดยไม่ตั้งองค์กรใหม่ให้สิ้นเปลืองงบประมาณ พร้อมกันนี้จะบรรจุหลักสูตรสร้างสุจริตให้เยาวชนได้เรียนรู้ มีสำนึกต่อส่วนรวม อย่าดูดายต่อการทุจริต เราสามารถปลูกฝังเยาวชนให้เกิดความสำนึกดีได้ เพราะไม่มีประโยชน์ที่เราจะผลิตบัณฑิตเก่งแต่โกง เราต้องการคนเก่งและคนดี

พร้อมกันนี้ ประธานรัฐสภายังกล่าวชื่นชมสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย) ที่ได้ดำเนินการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง ทั้งนี้หากหล่าวถึงแนวทางสุจริตหลายคนอาจจะมองว่าล้าสมัย แต่เราต้องยืนหยัดในสิ่งนี้ และทำให้ดูทันสมัย อย่าเป็นไดโนเสาร์จมอยู่กับอุดมคติที่ไม่เป็นจริง ต้องเชื่อว่าการแก้ปัญหาทุจริตนั้นเป็นไปได้โดยวิธีปฏิบัติคือ ลงมือทำจริง

สำหรับผู้ที่ได้รับรางวัล “ANTI-CORRUPTION AWARDS 2020” ส่งเสริมการต้านคอร์รัปชั่น ประจำปี ๒๕๖๓ ประเภทบุคคล ได้แก่ นายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ซึ่งเป็นแบบอย่างของบุคคลที่ไม่ทนต่ออำนาจไม่สุจริตแม้คดีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการจะผ่านพ้นไปแล้ว 9 ปี แต่ผลของการต่อสู้คดี กรณีถูกโยกย้ายไม่เป็นธรรม ในที่สุดศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาคืนตำแหน่งเลขาธิการสมช. ให้นายถวิล โดยวินิจฉัยว่าเป็นคำสั่งที่มิชอบ โดยการต่อสู้คดีของนายถวิลถือเป็นบรรทัดฐานให้กับข้าราชการ อีกทั้งจะเป็นขวัญกำลังใจให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่แสวงหาผลประโยชน์จากระบบอุปถัมภ์

ประเภทองค์กร ภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่มีความตื่นตัวต่อปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น โดย สปสช.ได้สุ่มตรวจการเบิกจ่ายเงินบัตรทองจากคลีนิค 18 แห่งในในกรุงเทพฯ พบว่ามีการทุจริต ไม่มีเอกสารหลักฐานของประชาชนที่เข้ารับการตรวจคัดกรองโรค และได้ขยายผลตรวจสอบอีก 63 คลีนิคสะท้อนให้เห็นถึงความเข้มแข็งของหน่วยงานภาครัฐ ที่เอาใจใส่ป้องปรามการทุจริตอย่างเป็นรูปธรรม

ประเภทองค์กร วิสาหกิจ ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)

ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่มุ่งเน้นการกำกับดูแลกิจการที่ดี โปร่งใส ตรวจสอบได้โดยจัดตั้งเครือข่ายโปร่งใส”  เพื่อเป็นกลไกในการสนับสนุนและช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้ กฟภ. โดยทำหน้าที่เฝ้าระวังสอดส่อง ดูแลป้องกัน และแจ้งเบาะแสหากพบการทุจริต

ประเภทองค์กร ภาคเอกชน ได้แก่ มูลนิธิต่อต้านการทุจริต แม้จะเพิ่งก่อตั้งมาเพียงระยะเวลาไม่มากนัก แต่ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมเชิงรุกจนเป็นที่ยอมรับจากทุกภาคส่วนให้กับสนับสนุน ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ส่งผลให้สังคมเกิดความตื่นรู้ถึงปัญหาการทุจริตร่วมเป็นเครือข่ายขับเคลื่อนต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างกว้างขวางผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ โครงการหมู่บ้านช่อสะอาดและการประกวดการต่อต้านการทุจริต ผ่านศิลปะการแสดงพื้นบ้าน”  เป็นต้น

ประเภท สื่อมวลชน ได้แก่ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ที่นำเสนอข่าวการทุจริตโครงการอาหารกลางวันเด็กนักเรียน ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จนทำให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ (...ภาค 3) ขยายผลตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนโรงเรียน 4 แห่ง เข้าข่ายการกระทำทุจริตอย่างชัดเจน และดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้

สำหรับบุคคลเกียรติยศแห่งปี ได้แก่ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) วิชา มหาคุณ ประธานมูลนิธิต่อต้านการทุจริต ได้รับรางวัลติดต่อกันเป็นปีที่สอง

ผลงานที่โดดเด่นในปีนี้ อาทิ กรณีสำนักงานอัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่ฟ้อง นายวรยุทธอยู่วิทยา หรือบอส ทายาทกระทิงแดง ที่ศาสตราจารย์(พิเศษ) วิชา มหาคุณ  เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยผลการตรวจสอบชี้ว่า การสั่งไม่ฟ้องคดีนายบอส มีการกระทำเป็นเครือข่ายสำนวนไม่ชอบสมคบคิดประวิงคดี พร้อมเสนอเอาผิดจริยธรรมร้ายแรงต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง  และให้ดำเนินคดีกับนายบอส ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมในอนาคต