ที่ปรึกษา รมว.ทส.สานต่อ ฯพณฯบรรหาร วางแผนพัฒนาเมือง ฟื้นคืนชีพเป็นสมบัติของลูกหลานชาวสุพรรณบุรี

ดร.อุดม โปร่งฟ้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(รมว.ทส.) กล่าวว่าในฐานะที่ปรึกษา รมว.ทส. ว่าจากการสำรวจพื้นที่ในหลายตำบล เพื่อจะนำปัญหาต่างๆ ที่กระทรวงทรัพยากรฯ รับผิดชอบไปหาทางแก้ไขปัญหาหลักๆ ก็จะเป็นสิ่งแวดล้อม เมื่อเดินทางไปสำรวจในพื้นที่ลำคลองท่าว้าแห่งนี้ ปรากฏว่าได้เจอหิ่งห้อยจำนวนมาก ส่องแสงเรืองรองสวยงามน่าสนใจ เชื่อว่าน่าจะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในภาคกลางคืนให้กับจังหวัดสุพรรณบุรีได้เป็นอย่างดี เพราะ จ.สุพรรณบุรี การท่องเที่ยวในภาคกลางวันมีครบถ้วนอยู่แล้ว

จึงได้เชิญหัวหน้าส่วนราชการทุกภาคส่วน ภาคเอกชน มาร่วมประชุมกันเพื่อวางแผนการพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรี อย่างยั่งยืนเนื่องจากในระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมานั้น หลังจากที่ ฯฯพณฯบรรหาร ศิลปอาชา ได้ถึงแก่อนิจกรรมลง จังหวัดสุพรรณบุรี ของเราก็เหมือนกับหยุดทุกอย่างไปพร้อมกับ ฯพณฯบรรหาร เรื่องนี้พวกเราต้องยอมรับความจริง เพราะเดิมที่ ฯพณฯบรรหาร ได้เป็นผู้ที่วางรากฐานหรือชี้ว่าจังหวัดสุพรรณบุรี จะไปทางซ้ายก็เป็นซ้าย จะไปทางขวาก็เป็นขวา จะเดินหน้าอย่างไรก็อยู่ที่ ฯพณฯบรรหาร

ดังนั้นเมื่อฯพณฯบรรหาร จากพวกเราไป ก็เหมือนกับทุกอย่างไม่ได้มีการสานต่อ ตนเองในฐานะได้รับความไว้วางใจให้เป็นที่ปรึกษา นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเป็นคนสุพรรณบุรี จึงเข้ามาเพื่อที่จะขอทำงานรักษาสิ่งต่างๆที่ ฯพณฯบรรหาร ทำไว้ในจังหวัดสุพรรณบุรีให้กลับคืนมาเป็นสมบัติของลูกหลานชาวสุพรรณบุรี อย่างยั่งยืน แต่จะทำคนเดียวไม่ได้ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี ส.อบจ.ฯ หรือแม้กระทั่งท้องถิ่น รวมทั้งทุกภาคส่วนของทางราชการ เอกชน ต้องมาร่วมมือกันในการที่จะแสดงความเห็นในการร่วมมือกันทำพื้นที่ของสุพรรณบุรี ให้มีความสวยงาม น่าท่องเที่ยว เหมือนกับที่ ฯพณฯบรรหาร ยังมีชีวิตอยู่

และนอกจากนี้สิ่งที่ธรรมชาติสร้างไว้ให้เรา ในเรื่องของระบบนิเวศน์ ตามที่เราได้พบแหล่งท่องเที่ยวสิ่งใหม่เกิดขึ้น ที่ลำน้ำท่าว้า หมู่ที่ 3,8 และ9บ้านสังฆจายเถร ต.สวนแตง อ.เมืองสุพรรณบุรี คือกองทัพหิ่งห้อย และที่ลำน้ำท่าว้าถือเป็นแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ จึงเป็นที่ชุมนุมของมวลหิ่งห้อย ในระยะทางประมาณ 1.5 กม. แต่จริงแล้วมีหิ่งห้อยทั้งเส้นลำน้ำท่าว้า แต่ที่ใช้ระยะทาง 1.5 กม.ถือว่าเป็นระยะทางพอดีสำหรับการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่จะดื่มด่ำกับธรรมชาติที่มีความสวยงาม และท่องเที่ยวแบบเชิงอนุรักษ์นิยม

ดร.อุดม กล่าวต่อว่าทุกรูปแบบเราจะไม่มีการปรุงแต่ง หรือเสริมแต่ง แต่จะให้เป็นธรรมชาติล้วนๆ พบกับแสงหิ่งห้อยที่มีความสวยงาม ดังนั้นเราจึงต้องเร่วดำเนินการเชิญทุกภาคส่วนมาประชุมวางแผน วางระบบการท่องเที่ยว ไม่ให้ทำลายธรรมชาติ และตอนนี้พี่น้องประชาชนในสุพรรณบุรี และทั่วประเทศเริ่มตื่นตัวกับหารพบหิ่งห้อยในครั้งนี้อย่างมาก และสอบว่าจะเข้ามาชมหิ่งห้อยอย่างไร แต่ในขณะนี้ เรายังไม่สามารถเปิดบริการได้ เนื่องจากอยู่วางรากฐานระบบสาธารณูปโภค ระบบการป้องกันต่างๆ ถ้าทำไม่ได้ ก็อาจทำให้ระบบนิเวศน์สูญเสียไป จะเป็นการทำลายหิ่งห้อย ดังนั้นขอเวลาสักระยะจะได้เปิดเป็นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตลอดไป และยังเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของจังหวัดสุพรรณบุรี และของประเทศไทย ที่เข้ามาเที่ยวแล้วจะมีความสุขอย่างแน่นอน