สุพรรณบุรี ขับเคลื่อนกระบวนการลดปัจจัยเสี่ยงจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เชิงบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม

วันนี้(20 มี.ค.66)เวลา 13.30 น.  ที่ห้องประชุมสภาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 2 สุพรรณบุรี นายแพทย์เฉลิมพล  กาละพงษ์  รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานการประชุมออกแบบกระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดสุพรรณบุรีเชิงบูรณาการ  โดยศูนย์ประสานงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ภาคตะวันตก ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเครือข่าย องค์กรงดเหล้า(สคล) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส) ภายใต้โครงการหนุนเสริมประชาคมงดเหล้า ลดปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลดปัจจัยเสี่ยงเพื่อคุณภาพชีวิตภาคตะวันตก โดยมีแผนงานในการผลักดันให้เกิดการควบคุมและลดพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับจังหวัด

โดยรองนายแพทย์ สสจ.สุพรรณบุรีกล่าวว่า ผลการการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้ผู้ดื่มมีปัญหาสุขภาพเพิ่มมากขึ้น  ละเพิ่มความเสี่ยงจากโรค NCD อีกทั้งจังหวัดสุพรรณบุรียัง เกิดอุบัติเหตุ ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ตลอดจนการสูญเสียทรัพย์สินอีกเป็นจำนวนมาก จากสาเหตุมากเมาแล้วขับ ดังนั้น การดำเนินการเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน  จำเป็นต้อง  อาศัยภาคีเครือข่ายร่วมกันขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน จึงจะเกิดสำเร็จ อย่างเป็นรูปธรรม

ด้านนางสาวอุบลวรรณ  คงสว่าง  ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ภาคตะวันตก กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์การขับเคลื่อนดังกล่าว ในการส่งเสริมสุุขภาพ งานบุญประเพณีปลอดเหล้า ลดอุบัติเหตุ ลดความรุนแรง ลดปัจจัยเสี่ยง ดื่มไม่ขับ ขับไม่ดื่ม ลดพื้นที่บาป เพิ่มพื้นที่บุญ

ขณะที่ นายภัทรพงษ์  กิตติวิริยะพันธุ์  ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาคมงดเหล้าจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวสรุปภาพรวมการทำงานของสุพรรณบุรี ว่า ภาคประชาสังคมร่วมดำเนินการเพื่อลดจำนวนการดื่มหน้าเก่าและหน้าใหม่ ส่งเสริมการทำงานด้านการลดและควบคุมการปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับพื้นที่  ลดปัญหาจากแอลกอฮอล์ เปลี่ยนค่านิยมการดื่ม และสนับสนุนภาครัฐให้บังคับใช้กฎหมายจริงจัง เพื่อส่งเสริม มาตรการ กติกา กระบวนการ การจัดการปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในพื้นที่ให้เกิดการ ลด ละ เลิก  การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมความร่วมมือในการเฝ้าระวังรู้เท่าทันธุรกิจแอลกอฮอล์การบังคับใช้กฎหมายและการเปลี่ยนทัศนคติในงานบุญประเพณี และการประสานความร่วมมือสถานศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายเยาวชนและการป้องกันนักดื่ม นักสูบหน้าใหม่  สุดท้ายคือการพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่ายและ คณะทำงานระดับจังหวัด

ทั้งนี้ ทางศูนย์ฯ   โดย  นายยุคลธร  พรมเดช นักวิชาการอิสระ ได้นำเสนอร่างประเด็นหารือข้อตกลงบันทึกความเข้าใจฯ ซึ่งมติที่ประชุม ขอให้มีการตรวจสอบข้อความโดยผู้เชี่ยวชาญสำนักฯ อีกครั้ง เพื่อความถูกต้อง และจัดพิธีลงนามในวันที่ 5 เมษายน 2566