รมช.มหาดไทย ตรวจราชการและติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย ในพื้นที่ จังหวัดสุพรรณบุรี

วันนี้(24 พ.ค.66) เวลา 13.30 น.ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 2 สุพรรณบุรี นายนริศ ขำนุรักษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะ ลงพื้นที่ ตรวจราชการและติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย โดยเฉพาะเรื่องการบริหารจัดการน้ำ/การป้องกันแก้ปัญหาภัยแล้ง ในพื้นที่ จังหวัดสุพรรณบุรี

พร้อมขอให้ทุกหน่วยงาน ในสังกัดกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หน่วยงานในสังกัดทรวงมหาดไทย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำ/รณรงค์ขอความร่วมมือในแก้มลิงเพื่อกักเก็บน้ำให้ได้มากที่สุด ทั้งที่เป็นห้วย/หนอง/คลอง/บึง หรือจะจัดทำขึ้นมาใหม่ เพราะแก้มลิงจะสามารถแก้ไปปัญหาได้ทั้งปัญหาน้ำท่วมและปัญหาภัยแล้งได้ แต่หากมีการบุกรุกพื้นที่ขอให้เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป คาดว่าปีนี้จะแล้งยาว  และหากหน่วยงานของ ปภ. ที่มีพื้นที่ว่างให้ร่วมกันปลูกต้นไม้ โดยเลือกไม้ประจำถิ่น หรือหาก มีกิจกรรมของหน่วยงานก็ขอให้มีการปลูกต้นไม้ประจำถิ่นด้วย เพราะต้นไม้จะช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพิ่มอากาศบริสุทธิ์ ลดอุณหภูมิความร้อน เพิ่มความชุ่มชื่น และลดความแรงของลมพายุได้  พร้อมทั้งช่วยรณรงค์ให้คนมีวินัย มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนและช่วยสังคมให้มีความรักความเอื้ออาทรต่อกัน/ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง/พึ่งตนเอง/ตามแนวพระราชดำริ ซึ่งจะทำให้สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุและแก้ไขปัญหาในยามมีภัยพิบัติได้ ที่สำคัญคือ ให้ช่วยรณรงค์ให้พี่น้องประชาชนเชื่อมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เชื่อมั่นในรัฐบาลและสถาบันพระมหากษัตริย์ว่าจะปกป้องแผ่นดินไทยแก้ปัญหาและพัฒนาบ้านเมืองได้ ยามสงคราม – ยามสงบ ต้องร่วมกันพัฒนา ย้ำเตือนว่าหน่วยงานของเรา หมายถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกระทรวงมหาดไทย คือที่พึ่งของประชาชน โดยเฉพาะในยามเกิดวิกฤตหรือมีภัยพิบัติซึ่งมีความคาดหวังว่าจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการและสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาได้อย่าง ทันท่วงที

นอกจากนี้ ขอให้หน่วยงานเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับความท้าทายกับสภาพปัญหาในปัจจุบันซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ต้องกำหนดแผนในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาวไว้ให้ครบถ้วน-ชัดเจน ได้แก่ด้าน 1. บุคลากร  2. ด้านแผนงาน/งบประมาณ3.เครื่องมือ/วัสดุอุปกรณ์ และ 5.ด้านการบริหารจัดการในกรณีที่มีการสลับสับเปลี่ยนผู้รับผิดชอบ  หรือมีการโยกย้ายของบุคลากร เพื่อให้งานในหน้าที่ความรับผิดชอบมีความต่อเนื่องกัน

อย่างไรก็ตาม ขอให้กำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้แก่พี่น้องประชาชน เพราะ เราคือทัพหน้าของการแก้ปัญหาในทุกวิกฤตของประเทศ /เราคือความหวังของพี่น้องประชาชนในทุกยาม โดยเฉพาะยามมีภัยพิบัติ /เราคือตัวแทนรัฐบาลที่ส่งต่อความห่วงใย /เราคือมหาดไทยที่ยืนบำบัดทุกข์ บำรุงสุข อย่างทระนง ไม่หวั่นไหว

ทั้งนี้ นายธีรยุทธ์ จันทร์ดิษฐวงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี  กล่าวว่า จังหวัดสุพรรณบุรี ประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ ๗๐ประกอบอาชีพเกษตรกรรมสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ปี ๒๕๖๖ เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม ๒๕๖๖ อุณหภูมิสูงสุดตั้งแต่ ๓๕ องศาเชลเชียสขึ้นไป ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนได้เปลี่ยนเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้หรือลมฝ่ายใต้พัดปกคลุมแทน ส่งผลมีอากาศร้อนอบอ้าวและแห้ง ความชื้นในอากาศมีน้อย และมีอากาศร้อนจัดเป็นบางวัน จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ดำเนินการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งในปี ๒๕๖๖ โดยได้จัดตั้งคณะทำงานติดตามสถานการณ์วางแผนการบริหารจัดการน้ำ สำรวจพื้นที่ที่เคยเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นประจำเพื่อกำหนดแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง เตรียมความพร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ และเครื่องจักรกลสาธารณภัยจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ เสี่ยงภัยแล้งได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง รวมถึงสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนภาคส่วนต่างๆมีความเข้าใจถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่และมาตรการบริหารจัดการน้ำของภาครัฐ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการใช้น้ำอย่างประหยัด

ขณะที่ นายเอกภพ  จันทร์เพ็ญ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 2 สุพรรณบุรี กล่าวถึงภาพรวมการดำเนินของศูนย์ฯ  ทั้ง 4 จังหวัดในความรับผิดชอบ ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี  พระนครศรีอยุธยา  อ่างทอง และจังหวัดสุพรรณบุรี ในด้านอำนาจหน้าที่ และการเตรียมความพร้อมการป้องกันและแก้ปัญหาภัยแล้ง ปี 2566 โดยมีการแต่งตั้งคณะทำงาน/การวางแผนบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ/การทบทวนและจัดทำแผนเผชิญเหตุ/การสำรวจหมู่บ้าน/ชุมชนที่เคยประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ/การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร/การสร้างการรับรู้ทั้งประชาชนและส่วนราชการถึงสถานการณ์น้ำและการเตรียมความพร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ และเครื่องจักรกล เพื่อทำการช่วยเหลือประชาชนอย่างทันท่วงที