ตรัง ร่วมติดตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติตุทางถนนแห่งชาติ ครั้งที่ 1

ผู้ว่าฯ ตรัง ร่วมติดตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติตุทางถนนแห่งชาติ ครั้งที่ 1 เพื่อรับทราบนโยบายของผู้บริหารผ่านระบบประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Confeerence)

ที่ห้องประชุมศรีตรัง ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดตรัง นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ร่วมติดตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติตุทางถนนแห่งชาติ ครั้งที่ 1 เพื่อรับทราบนโยบายของผู้บริหารผ่านระบบประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Confeerence) โดยมี พลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบนโยบาย การกำหนดเป้าหมาย มาตรการ แนวทางการดำเนินงานในการบูรณาการการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยงที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2564 และเทศกาลต่าง ๆ รวมทั้งช่วงเวลาปกติ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมในการป้องกัน การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การอำนวยความสะดวกจราจร และการบังคับใช้กฎหมาย ถือปฏิบัติตามนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติอย่างเคร่งครัด เพื่อลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินจากอุบัติเหตุให้น้อยลง ณ ห้องประชุม 1 ปภ.อาคาร 3 ชั้น 5 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย   โดยการประชุมสรุปผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2564 และการถอดบทเรียนการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2564 โดยสถิติอุบัติเหตุทางถนน พบว่า จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุ 3,333 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 392 ราย ผู้บาดเจ็บ admit 3,326 คน โดยมีสาเหตุสูงสุดเกิดจากการขับรถเร็ว 1,120 ครั้ง ประเภทรถที่เกิดเหตุสูงสุด คือ รถจักรยานยนต์ 2,957 คัน และถนนที่เกิดเหตุสูงสุด คือ ถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1,676 ครั้ง การเกิดเหตุบนถนนที่มีลักษณะคับขัน เกิดเหตุบริเวณทางแยก 1,623 ครั้ง บริเวณถนนที่มีสภาพผิวทางชำรุด 142 ครั้ง จุดกลับรถ 99 ครั้ง และบริเวณทางลาดชัน 63 ครั้ง การจัดตั้งด่านชุมชน จำนวน 16,925 ด่าน มีเจ้าหน้าที่ประจำด่านเฉลี่ยวันละ 116,138 คน การดำเนินการตามตัวชี้วัด เมื่อเปรียบเทียบกับสถิติในช่วงปีใหม่เฉลี่ย 3 ปี ย้อนหลังโดยภาพรวมลดลง

ทั้งนี้ ได้รวบรวมข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่าย สำหรับถอดบทเรียนเพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนา การดำเนินงานด้านต่าง ๆ ดังนี้ ในด้านผู้ใช้รถใช้ถนน ให้ความสำคัญในการสร้างจิตสำนึกและวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน โดยควรจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ด้านความปลอดภัยทางถนน ทั้งในและนอกเวลาเรียน ด้านถนน ให้กำหนดแนวทางการปรับปรุงแก้ไขถนนให้มีมาตรฐาน ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว เน้นการปรบปรุงแก้ไขบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ด้านยานพาหนะ ควรกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการขอใบอนุญาตขับรถ โดยเพิ่มกระบวนการสร้างความตระหนักรู้ จิตสำนึกและการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงขณะขับขี่