ตรัง ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์สร้างรายได้ปีละแสน

เกษตรกรตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ปลูกหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ ชื้นที่เพียงไร่ครึ่ง ก็สามารถสร้างรายได้ปีละกว่าแสนบาท


นายนิคม เสนี อายุ 50 ปี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 และเป็นเกษตรกรหมู่ที่ 5 ตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ใช้พื้นที่ไร่ครึ่ง ปลูกหญ้าพันธุ์หวายข้อ ซึ่งเป็นหญ้าใช้เลี้ยงสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นแพะ ม้า และวัวชน โดยเฉพาะวัวชน ผู้เลี้ยงวัวชนให้ความสนใจมาซื้อหญ้าเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารโปรตีน ที่ซึ่งเกษตรกรซื้อพันธุ์หญ้ามา จำนวน 4 พันบาท นำมาปลูก ก่อนปลูกก็มีการปรับสภาพดินก่อนโยรองพื้นด้วยปุ๋ยธรรมชาติ แบบขี้หมู ขี้วัว เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่นา ในพื้นที่ไร่ครึ่งได้สร้างรายได้ประมาณเกือบ 2 หมื่นบาท/ครั้ง 40 วัน ตัดได้ขายไป 1 ครั้ง กลุ่มที่มาซื้อส่วนมากเป็นกลุ่มวัวชน และวัวทั่วไป เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงแพะ เลี้ยงม้า ขายดีมาก ปลูกมาประมาณ 10 กว่าปี ในช่วงแล้งนี้ขายดีมาก ตอนนี้แบ่งขายเป็นล็อคกว้าง 5 ยาว 60 เมตร ราคา 1,200 บาท โดยหญ้าของตนนั้นขายถูก มีคนมาจองซื้อจำนวนมากไม่เพียงพอต่อความต้องการ

           ทางด้านนางจรุณี ดำช่วย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์จังหวัดพิจิตร ปฏิบัติราชการผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์จังหวัดตรัง กล่าวว่ากรมปศุสัตว์ส่งเสริมการปลูกหญ้าเพื่อการเลี้ยงสัตว์ในปี 2545 กรมปศุสัตว์ได้มีโครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพื้นที่นามาเป็นพื้นที่ปลูกหญ้าเพื่อตอบสนองปัญหาในเรื่องของราคาข้าวตกต่ำ และปริมาณการเลี้ยงสัตว์ก็เพิ่มปริมาณมากขึ้นในขณะที่พื้นที่ปลูกพืชอาหารสัตว์ลดน้อยลง กรมปศุสัตว์ก็เลยดำเนินการผลิตโครงการนี้มา ในส่วนของจังหวัดตรังช่วงนั้นเรายังไม่ได้รับงบประมาณในเรื่องของการส่งเสริมเกษตรกรปรับเปลี่ยนพื้นที่นามาเป็นพื้นที่นาหญ้า ในปี 2549 ทางหัวหน้าสถานีพัฒนาอาหารสัตว์ตรัง ได้ดำเนินการจัดเขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากผู้ว่าราชการจังหวัด งบ CEO ในช่วงนั้น และได้รับงบประมาณจากผู้ว่าราชการจังหวัดตรังจำนวน 1 ล้าน 2 แสนบาท เพื่อส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดตรังจำนวน 5 อำเภอ ปลูกพืชอาหารสัตว์ ได้แก่ อำเภอนาโยง เมือง ห้วยยอด ย่านตาขาวและหาดสำราญ เกษตรกรช่วงนั้นที่เข้าร่วมโครงการ 100 ราย อำเภอละ 20 ราย ในอำเภอนาโยงซึ่งตำบลนาหมื่นศรี เกษตรกรให้การตอบรับเป็นอย่างดีมาก ซึ่งพิ้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นาข้าวและสามารถตอบโจทย์ของปศุสัตว์และกระทรวงเกษตร ในเบื้องต้นเกษตรกรจะปลูกในเรื่องของหญ้าแพงกูล่า แต่เมื่อปลูกหญ้าแพงกูล่าแล้วแต่ด้วยสภาพพื้นที่ของตำบลนาหมื่นศรี เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทำให้หญ้ามีการเจริญเติบโตดีมาก ผลผลิตต่อไร่สูง เมื่อหญ้าโตเร็วการทับถมของหญ้าจะทำให้ แล้วสภาพของภาคใต้จะเป็นพื้นที่ที่มีฝนตกชุกก็จะให้เกิดปัญหาว่าหญ้าทับถมกันมีปัญหาเรื่อง ใบเหลือง ประกอบกับภาคใต้โดยจังหวัดตรังและจังหวัดใกล้เคียง เกษตรกรส่วนใหญ่จะนิยมการเลี้ยงโคชน เมื่อเกษตรกรเอาแพงกูล่าไปให้โคชนกิน ก็จะทำให้โคมีความอ้วน ซึ่งเกษตรกรไม่ชอบ เกษตรกรก็เลยปรับเปลี่ยนจากแพงกูล่ามาเป็นหญ้าไวคอก ซึ่งหญ้าไวคอกกับโคชนเป็นหญ้าที่ควบคู่กัน ซึ่งจะมีหนังสือฉบับหนึ่งเขียนถึงหญ้าไวคอกไว้ว่า ไวคอกกับวัวชนกับคนใต้ ซึ่งเป็นหญ้าที่เหมาะสม หญ้าไวคอกเป็นหญ้าอีกตัวหนึ่ง ซึ่งเป็นหญ้าพื้นเมืองที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง อยู่ประมาณ 4-5 ตันต่อไร่ต่อปี โปรตีนก็ประมาณ 8-9 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำมาใช้ในการเลี้ยงวัวชนก็จะทำให้โคชนมีความแข็งแรง ความน่ากินก็จะมีความกรอบ เกษตรกรจังหวัดตรังก็ได้ปรับเปลี่ยนจากแพงกูล่ามาเป็นหญ้าไวคอก ซึ่งอนาคตทางศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์จังหวัดตรังก็มุ่งเน้นที่จะเพิ่มในเรื่องของการปรับเปลี่ยนพื้นที่ที่เพิ่มเติมขึ้นเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภคก็หมายถึงว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงโคชนให้มีความเพียงพอในเรื่องของความต้องการหญ้าไวคอก แต่ปัญหาอีกตัวหนึ่งในเรื่องของการปลูกหญ้าเพื่อการจำหน่าย ช่วงหน้าฝนที่หญ้ามีความอุดมสมบูรณ์เกษตรกรอาจจะขายหญ้าได้น้อยลง เนื่องจากว่าหญ้าธรรมชาติมันก็สมบูรณ์ ทางศูนย์ฯ ก็จะมีในเรื่องของการต่อยอดมาผลิตเป็นหญ้าหมักเพื่อสำรองไว้ใช้สำหรับการเลี้ยงโคเนื้อหรือโคพื้นเมืองต่อไปได้